หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559

วัฒนธรรมไทย ประเพณีไทย 4 ภาค

วัฒนธรรมไทย  4  ภาค

 วัฒนธรรมภาคใต้

ภูมิประเทศของภาคใต้มีเอกลักษณ์เฉพาะ คือมีชายฝั่งประกบเทือกเขาสูงที่อยู่ตรงกลาง ซึ่งไม่มีภูมิภาค อื่นๆ ภูมิประเทศเป็นหลักจึงเป็นเทือกเขาและชายฝั่ง เป็นที่ราบจะมีอยู่เป็นแนวแคบๆ แถบชายฝั่งทะเล และสองฝั่งลำน้ำ การตั้งถิ่นฐานจะอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลทั้งด้านตะวันออกและตะวันตก จากลักษณะทาง ภูมิศาสตร์ของภาคใต้ ทำให้มีคนที่ต่างภาษาต่างวัฒนธรรมอย่างหลากหลายเดินทางเข้ามาภาคใต้มีทั้งชาว พุทธ ชาวมุสลิม ต่างเชื้อชาติกัน เช่น คนไทย คนจีน และผู้ที่มีเชื้อสายมาเลย์ รวมทั้ง ชาวเมือง เช่น ชาวเล อาศัยอยู่กัน วัฒนธรรมภาคใต้จึงมีรูปแบบอันเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ ดังนั้นภาคใต้จึง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจเพราะมีภูมิศาสตร์ที่งดงาม มีชายฝั้งทะเลและมีวัฒนธรรมหรือการดำรงชีวิต ที่เป็นเอกลักษณ์

วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับประเพณีและพิธีกรรม

ประเพณีชักพระ เป็นประเพณีท้องถิ่นในภาคใต้ตอนกลาง เป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับความศรัทธาในพระ พุทธศาสนา และวิถีชีวิตชาวใต้ที่มีความผูกพันกับน้ำ ประเพณีชักพระหรือลากพระจัดขึ้นในช่วงออกพรรษาโดยเฉพาะในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ด้วยความเชื่อว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากสวรรค์ชั้นดาว ดึงส์ลงมายังโลกมนุษย์ จึงมีการจัดงานเพื่อแสดงความยินดี ประชาชนจึงอัญเชิญพระพุทธองค์ขึ้นประทับ บนบุษบกที่จัดเตรียมไว้ แล้วแห่แหนไปยังที่ประทับ ส่วนใหญ่จะเป็นการจัดขบวนทางเรือ แต่บริเวณใดที่ ห่างไกลแม่น้ำก็จะจัดพิธีทางบก
 


      ประเพณีชักพระ ประกอบด้วยขบวนเรือที่ตกแต่งอย่างงดงาม บน เรือที่มีพระพุทธรูปประทับอยู่บนบุษบกเรียกว่า "เรือประทาน หรือเรือ พนมพระ" ที่หัวเรือมีสายเชือกยาวผูกสำหรับลาก เรือพนมพระนิยม ทำเป็นตัวนาค และบนเรือยังมีพระสงฆ์นั่งมาด้วยพิธีจะเริ่มตั้งแต่เช้า มืด โดยมีการจัดทำสลากและนิมนต์พระวัดต่างๆ มาชักผ้าป่าที่หน้า บ้านที่สลากระบุ หลังจากถวายพุ่มผ้าป่าแล้ว พระผู้ใหญ่ที่ได้รับการ เคารพนับถือจะทำพิธีชักพระ ด้วยการจับปลายเชือกที่อยู่หัวเรือ จาก นั้นก็จะปล่อยให้เรือของชาวบ้านเข้าลากจูง ด้วยเชื่อว่าจะได้บุญมาก เรือจะถูกชักลากไปช้าๆ ตลอดเส้นทาง พร้อมกับการตีกลองประโคม เพื่อให้ชาวบ้านรู้ว่าเรือพนมพระกำลังผ่านมา ชาวบ้านสองฝั่งแม่น้ำ จะออกมาตักบาตรเรียกว่า "ตักบาตรเทโว" เมื่อเรือจอดยังที่ที่กำหนดไว้แล้ว จะอัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นประ ดิษฐานบนโรงพิธีสงฆ์ เพื่อทำการสมโภชในวันรุ่งขึ้น วันสุดท้ายจะทำพิธีอัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นเรือกลับสู่ วัด หลังเสร็จพิธีทางศาสนาแล้วก็มีงานรื่นเริงของชาวบ้าน คือ "การแข่งเรือยาว" ประเพณีชักพระที่มีชื่อ เสียง คือ ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่มีแม่น้ำตาปีให้ความชุ่มฉ่ำแก่ชาวบ้านมาตั้งแต่อดีต
     เมื่อถึงเช้าตรู่ของวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 จะอาราธนาพระพุทธรูป ขึ้นประดิษฐานบนบุษบกเหนือเรือพระ นิมนต์พระภิกษุในวัดนั้นทั้ง หมดขึ้นนั่งประจำเรือ พร้อมทั้งอุบาสกและศิษย์วัดที่จะติดตาม และ ประจำเครื่องประโคมอันมี โพน (กลองเพล) ฆ้อง โหม่ง ฉิ่งฉาบ แล้ว ชาวบ้านก็จะช่วยกันลากเรือพระออกจากวัด (ภิกษุที่จะร่วมไปด้วย ต้องรับฉันภัตตาหารเช้าให้เรียบร้อยเสียก่อน) ถ้าเป็นลากพระทางน้ำ ก็จะใช้เรือพายลาก ถ้าเป็นการลากพระทางบก ก็จะใช้คนเดินลาก แล้วแต่กรณี ขณะที่ลากเรือพระไป ใครจะมาร่วมแขวนต้มบูชาพระ หรือร่วมลากตอนไหนก็ได้ เกือบทุกท้องถิ่นกำหนดให้มีจุดนัดหมาย เพื่อให้บรรดาเรือพระทั้งหมดในละแวกใกล้เคียง ไปชุมนุมในที่เดียว กันในเวลาก่อนพระฉันเพล ให้พุทธศาสนิกชนได้มีโอกาส "แขวนต้ม" และถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสาม เณรได้ทั่วทุกวัด หรือมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โอกาสนี้จึงก่อให้เกิดการประกวดประชันกันขึ้นโดยปริยายเช่น การประกวดเรือพระ การแข่งขันเรือพาย การเล่นเรือโต้แก้จำกัด การประกวดเรือเพรียวประเภทต่างๆ เช่น มีฝีพายมากที่สุด แต่งตัว สวยงามที่สุด หรือตลกขบขัน หรือมีความคิดริเริ่มดีมี การแข่งขันตี โพนประเภทตีดัง ตีทน ตีท่าพลิกแพลงลีลาการตีสวยงาม เป็นต้น และ บางทีก็มีกิจกรรมแปลกๆ เช่น กีฬาซัดต้ม การประกวดเรือพระ สมัยก่อนมักให้รางวัล เป็นของที่จำเป็นสำหรับวัด เช่น น้ำมันก๊าด กา น้ำ ถ้วยชาม สบง จีวร เสนาสนะสงฆ์ แต่ปัจจุบันรางวัลมักจะให้เป็น เงินสด
     สำหรับในท้องถิ่นจังหวัดปัตตานี การชักพระทางบก ตามที่ผู้เฒ่า ผู้แก่เล่าให้ฟังว่า วัดสุวรรณากร (วัดบ่อทอง) วัดโมลีนิมิตร (วัดหรั่ง) วัดหน้าเกตุ วัดมะกรูด วัดปุราณประดิษฐ์ (วัดบู) วัดมะเดื่องทอง (กา โผะ) วัดสมุทรวารี (ป่าโทะ) วัดโรงวาส และวัดใกล้เคียงในอำเภอ หนองจิก อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี และอำเภอเทพา อำเภอจะ นะ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา ได้ชักลากพระวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11ไปตามเส้นทางสู่หน้าที่ว่าการอำเภอโคกโพธิ์ เป็นจุดหมาย ปลายทาง และมีการเฉลิมฉลองกันอย่างสนุกสนาน มีมหรสพให้ชม ตลอดทั้งคืน มีการประกวดเรือพระ รุ่งเช้าจะมีการทำบุญเลี้ยงพระ ตกช่วงบ่ายชักชวนกันลากพระกลับวัด ปัจจุบันประเพณีชักพระอำ เภอโคกโพธิ์ มีการสมโภชและการเฉลิมฉลองกันเป็นเวลา 7 วัน 7 คืน ซึ่งเป็นประเพณีที่ภาคภูมิใจของชาว ไทยพุทธ ส่วนการชักพระทางน้ำ ทุกวัดต้องมีการสร้างพระเรือครัว เรือพายหญิง เรือพายชายตกแต่งประดับประดาอย่างสวยงาม และจะมีการลากพระล่วงไปตามลำน้ำยามู สู่ บ้านท่าทราย ใต้ต้นไทรใหญ่ กิ่งไพศาล ริมน้ำยามู รวมหมู่เทียบเรือ พระสมโภชตักบาตร เลี้ยงพระเสร็จแล้ว มีการแข่งขันเรือพายหญิง เรือพายชาย ไล่สาดน้ำกัน เกี้ยวพาราสี ร้องเพลงขับกล่อมตามประ เพณีนิยมท้องถิ่นจนพลบค่ำ ประเพณีลากพระได้ปรับเปลี่ยนเติมแต่ง ต่างออกไปจากเดิมหลายอย่าง เช่น นิยมใช้เรือหางยาวแทนเรือ เพรียว เพราะจากเรือขนาดใหญ่ทำเรือพระได้ยากขึ้น มีการใช้ รถยนต์มาดัดแปลงแทนล้อเลื่อน มีการตกแต่งบุษบกหรือ "นมพระ"ด้วยวัสดุสมัยใหม่ เช่น โฟม กระดาษ พลาสติก หลังคาซ้อนกันเป็น จตุรมุขก็มี บางวัดมีการนำเอากลองยาวมาประกอบขบวนแห่ มีการตั้ง หีบรับเงินอนุโมทนา
  
วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหาร
            อาหารพื้นบ้านภาคใต้มีรสชาติโดด เด่นเป็นเอกลักษณ์ เฉพาะสืบเนื่องจากดินแดนภาคใต้เคยเป็นศูนย์ กลางการเดิน เรือค้าขายของพ่อค้าจากอินเดีย จีนและชวาในอดีตทำให้วัฒน ธรรมของชาวต่างชาติโดย เฉพาะอินเดียใต้ซึ่งเป็นต้นตำรับใน การใช้เครื่องเทศปรุงอาหารได้เข้ามามีอิทธิพลอย่างมาก
 อาหารพื้นบ้านภาคใต้ทั่วไป มีลักษณะผสมผสานระหว่าง อาหารไทยพื้นบ้านกับอาหารอินเดียใต้ เช่น น้ำ
            บูดู ซึ่งได้มาจากการหมักปลาทะเลสดผสมกับเม็ดเกลือ และมีความคล้ายคลึงกับอาหารมาเลเซียอาหาร ของภาคใต้จึงมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่น ๆ และด้วยสภาพภูมิศาสตร์อยู่ติดทะเลทั้งสองด้าน มีอาหารทะเล อุดมสมบูรณ์ แต่สภาพอากาศร้อนชื้นฝนตกตลอดปี อาหารประเภทแกงและเครื่องจิ้ม จึงมีรสจัดช่วยให้ร่าง กายอบอุ่นป้องกันการเจ็บป่วยได้อีกด้วย

 

                           ขนมจีนชาวใต้                                                  การทำน้ำบูดู


การกิน ลักษณะเด่นของการรับประทานอาหารของชาวภาคใต้ คือ มีผักสารพัดชนิดเป็นผักจิ้มหรือผักแกล้มในการรับประทาน อาหารทุกมื้อ ภาษาท้องถิ่น เรียกว่า "ผักเหนาะ" ความนิยมใน การรับประทานผักแกล้มอาหารของชาวใต้ เป็นผลมาจากการที่ ภาคใต้มีพืชผักชนิดต่างๆ มาก และหาได้ง่าย คนใต้นิยมรับประ ทานอาหารเผ็ด จึงต้องมีผักแกล้ม เพื่อช่วยบรรเทาความเผ็ด และเพื่อชูรสอาหาร อาหารท้องถิ่นยังนิยมใส่ขมิ้นในอาหาร นิยมรับประทาน "ขนมจีน" รองจากข้าว ใส่เคยหรือกะปิเป็น เครื่องปรุงรสอาหาร ชาวไทยมุสลิมนิยมรับประทานน้ำบูดู ซึ่ง เป็นน้ำที่หมักจากปลา แล้วนำมาเคี่ยวปรุงรสให้ออกเค็มๆ หวานๆ นับเป็นอาหารที่ขาดไม่ได้ของชาวไทยมุสลิม

    อาหารปักษ์ใต้แม้จะเป็นอาหารที่อร่อย น่าลิ้มลอง แต่สิ่งหนึ่งที่ประทับใจผู้คน คือความเผ็ดร้อนของรส ชาติอาหารผู้คนในภาคใต้นิยมรสอาหารที่เผ็ดจัด เค็ม เปรี้ยว แต่ไม่นิยมรสหวาน รสเผ็ดของอาหารปักษ์ ใต้มาจากพริกขี้หนูสด พริกขี้หนูแห้งและพริกไทย ส่วนรสเค็มได้จากกะปิ เกลือ รสเปรี้ยว ได้จากส้มแขก น้ำ ส้มลูกโหนด ตะลิงปลิง ระกำ มะนาว มะขามเปียก และมะขามสด เป็นต้น

    เนื่องจากอาหารภาคใต้มีรสจัด อาหารหลาย ๆ อย่างจึงมีผักรับประทานควบคู่ไปด้วยเพื่อลดความเผ็ด ร้อนลงซึ่งคนภาคใต้ เรียกว่า ผักเหนาะ หรือบางจังหวัดอาจเรียกว่า ผักเกร็ด ผักเหนาะของภาคใต้มีหลาย อย่าง บางอย่างก็เป็นผักชนิดเดียวกับภาคกลาง เช่น มะเขือเปราะ ถั่วฝักยาว ถั่วพู ฯลฯ แต่ก็มีผักอีกหลาย อย่างที่รู้จักกันเฉพาะคนภาคใต้เท่านั้น การเสิร์ฟผักเหนาะกับอาหารปักษ์ใต้ ชนิดของผักจะคล้ายๆ กัน หรืออาจเป็นผักที่ผู้รับประทานชอบก็ได้

วัฒนธรรมภาคเหนือ

  ภาคเหนือมีลักษณะเป็นเทือกเขา สลับกับที่ ราบ ผู้คนจะกระจายตัวอยู่เป็นกลุ่ม มีวิถีชีวิต และขนบธรรมเนียมเป็นของตนเอง แต่ก็มีการ ติดต่อระหว่างกัน วัฒนธรรมของภาคเหนือหรือ อาจเรียกว่า "กลุ่มวัฒนธรรมล้านนา" ซึ่งเป็น วัฒนธรรมเก่าแก่และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้ง สำเนียงการพูด การขับร้อง ฟ้อนรำ หรือการจัด งานฉลองสถานที่สำคัญที่มีแต่โบราณ เช่น พระธาตุดอยสุเทพ วัดเจดีย์หลวง เป็นต้น

 วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับศาสนา ความเชื่อ

     ความเชื่อเกี่ยวกับการนับถือผี ชาวเหนือหรือที่เรียกกันว่า"ชาวล้านนา"มีความเชื่อในเรื่องการนับถือผีตั้งแต่เดิม โดย เชื่อว่าสถานที่แทบทุกแห่ง มีผีให้ความคุ้มครองรักษาอยู่ ความเชื่อนี้จึงมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เห็นได้ จากขนบธรรมเนียม ประเพณี และพิธีกรรมต่างๆ ของชาว เหนือ เช่น ผู้เฒ่าผู้แก่ชาวเหนือ (พ่ออุ๊ยแม่อุ๊ย) เมื่อไปวัดฟัง ธรรมก็จะประกอบพิธีเลี้ยงผี คือ จัดหาอาหารคาว-หวานเซ่น สังเวยผีปู่ย่าด้วย

ผีที่มีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของชาวล้านนา เช่น


·                     ผีบรรพบุรุษ มีหน้าที่คุ้มครองเครือญาติและครอบครัว
·                     ผีอารักษ์ หรือผีเจ้าที่เจ้าทาง มีหน้าที่คุ้มครองบ้านเมืองและชุมชน
·                     ผีขุนน้ำ มีหน้าที่ให้น้ำแก่ไร่นา
·                     ผีฝาย มีหน้าที่คุ้มครองเมืองฝาย
·                     ผีสบน้ำ หรือผีปากน้ำ มีหน้าที่คุ้มครองบริเวณที่แม่น้ำสองสายมาบรรจบกัน
·                     ผีวิญญาณประจำข้าว เรียกว่า เจ้าแม่โพสพ
·                     ผีวิญญาณประจำแผ่นดิน เรียกว่า เจ้าแม่ธรณี

    ในทุกวันนี้เรื่องในการนับถือผีและประเพณีที่เกี่ยวข้อง มีการเปลี่ยนแปลงและเหลือน้อยลง โดยเฉพาะใน เขตเมือง แต่ในชนบทยังคงมีการปฏิบัติกันอยู่

คนล้านนามีความผูกพันเกี่ยวเนื่องอยู่กับการนับถือผี สามารถพบเห็น ได้จากการดำเนินชีวิตประจำวันของคนเมืองเอง เช่น เมื่อเวลาที่ต้องเข้า ป่าไปหาอาหาร หรือต้องค้างพักแรมอยู่ในป่า มักจะต้องบอกกล่าวเจ้าที่ เจ้าทางเสมอ และเมื่อเวลาที่กินข้าวในป่า ก็มักจะแบ่งอาหารให้เจ้าที่ด้วย เช่นกัน นอกจากนั้นเมื่อเวลาจะอยู่ ที่ไหนก็ตามไม่ว่าจะอยู่ในเมืองหรือใน ป่า เมื่อเวลาที่ต้องถ่ายหรือปัสสาวะ ก็มักจะต้องขออนุญาตจากเจ้าที่ก่อน อยู่เสมอ เหล่านี้แสดงให้เห็นว่าวิถีชีวิตของคนเมืองผูกผันอยู่กับการนับ ถือผี

      การเลี้ยงผีของคนล้านนาจะอยู่ในช่วงระหว่างเดือน 4 เหนือ จน ถึงเดือน 8 เหนือ ช่วงเวลานี้เราจะพบว่าตามหมู่บ้านต่างๆ ในภาค เหนือจะมีการเลี้ยงผีบรรพบุรุษกันอย่างมากมาย เช่น ที่อำเภอเชียง คำ จังหวัดพะเยา ก็จะมีการเลี้ยงผีเสื้อบ้านเสื้อเมือง ซึ่งเป็นผีบรรพ บุรุษของชาวไทลื้อ พอหลังจากนี้อีกไม่นานก็จะมีการเลี้ยงผีลัวะ หรือ ประเพณีบูชาเสาอินทขิล ซึ่งเป็นประเพณีเก่าแก่ของคนเมือง และยัง ไม่นับรวมถึงการ เลี้ยงผีมด ผีเม็ง และการเลี้ยงผีปู่แสะย่าแสะของ ชาวลัวะ ซึ่งจะทยอยทำกันต่อจากนี้

     ในช่วงกลางฤดูร้อนจะมีการลงเจ้าเข้าทรงตามหมู่บ้านต่างๆ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะความเชื่อของชาวบ้านที่ ว่า การลงเจ้าเป็นการพบปะพูดคุยกับผีบรรพบุรุษ ซึ่งในปีหนึ่งจะมีการลงเจ้าหนึ่งครั้ง และในการลงเจ้าครั้ง นี้ จะถือโอกาสทำพิธีรดน้ำดำหัวผีบรรพบุรุษไปด้วย ยังมีพิธีเลี้ยงผีอยู่พิธีหนึ่งที่มักจะกระทำกันในช่วงเวลา นี้ และที่สำคัญในปีหนึ่งจะทำพิธีนี้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น นั่นก็คือ "การเลี้ยงผีมดผีเม็ง" ชาวบ้านที่ประ กอบพิธีนี้ขึ้นบอกว่า การเลี้ยงผีมดผีเม็งจะเลี้ยงอยู่ 2 กรณี คือ เมื่อเวลามีคนเจ็บป่วย ไม่สบายในหมู่บ้าน จะ ทำพิธีบนผีเม็ง เพื่อขอใช้ช่วยรักษา เมื่อเวลาที่หายแล้วจะต้องทำพิธีเชิญวิญญาณผีเม็งมาลง และจัดหา ดนตรีมาเล่น เพื่อเพิ่มความสนุกสนานแก่ผีมด ผีเม็งด้วย อีกกรณีหนึ่งเมื่อไม่มีคนเจ็บป่วยในหมู่บ้านจะต้อง ทำพิธีเลี้ยงผีมดผีเม็งทุกปี โดยจะต้องหาฤกษ์ยามที่เหมาะสม และจะต้องกระทำระหว่างช่วงเวลาเดือน 4 เหนือ ถึงเดือน 8 เหนือ ก่อนเข้าพรรษา เพราะถ้าไม่ทำพิธีผีมดผีเม็งอาจจะไม่คุ้มครองคนในหมู่บ้านก็ได้ ดัง นั้นเมื่อใกล้ถึงช่วงเวลาดังกล่าว เรามักจะพบภาพพิธีเหล่านี้ตามหมู่บ้านต่างๆ

คนล้านนากับความเชื่อในการเลี้ยงผี ถือได้ว่าเป็นพิธีกรรมที่สำคัญของพวกเรา แม้ว่าการดำเนินชีวิตของ พวกเขาจะราบรื่นไม่ประสบปัญหาใด แต่ภายใต้จิตสำนึกที่แท้จริงแล้ว คนล้านนาเหล่านี้ไม่อาจลืมเลือน วิญญาณของผีบรรพบุรุษ ที่เคยช่วยเหลือให้พวกเขามีชีวิตที่ปกติสุขมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่า แม้กาลเวลาจะแปร เปลี่ยนไปอย่างไร ภาพที่เรายังคงพบเห็นได้เสมอเมื่อเวลาเดินทางไปยังหมู่บ้านต่างๆ ในชนบท ก็คือ เรือน เล็กๆ หลังเก่าตั้งอยู่กลางหมู่บ้าน นั่นก็คือ "หอเจ้าที่ประจำหมู่บ้าน" ที่ยังย้ำเตือนให้พวกเขาไม่ให้หลงไหล ไปกับกระแสสังคมนั่นเอง

วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับประเพณีพื้นเมือง
    ประเพณีของภาคเหนือ มีลักษณะเป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิถีการดำรงชีวิต ที่เกิดจากการผสมผสาน ระหว่างพุทธศาสนากับความเชื่อ ในเรื่องการนับถือผี ทำให้มีประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ และลักษณะของ ประเพณีจะแตกต่างกันไปตามฤดูกาล คือ



           ช่วงแรก (เดือนเมษายนถึงมิถุนายน) เป็นช่วงการเริ่มต้นปีใหม่หรือ สงกรานต์งานประเพณี จึงเกี่ยวกับการทำบุญ เพื่อความเป็นสิริมงคล ต้อนรับชีวิตใหม่ และอุทิศส่วนบุญกุศลไปให้แก่บรรพบุรุษ มีการเลี้ยง ผีและฟ้อนผี เพื่อขอฝนช่วยให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ภายในไร่นา
       ช่วงที่สอง (เดือนมิถุนายนถึงตุลาคม) เป็นช่วงของการเพาะปลูก และเป็นเทศกาลเข้าพรรษา ประเพณีจึงเกี่ยวข้องกับการประกอบ อาชีพและศาสนา


         ช่วงที่สาม (เดือนตุลาคมถึงเมษายน) เป็นช่วงของการเก็บเกี่ยวพืช ผลและเทศกาลออกพรรษา ถือว่าเป็นเวลาแห่งการพักผ่อนงาน ประเพณี จึงเป็นงานรื่นเริงและการทำบุญที่เกี่ยวศาสนา

ประเพณีสงกรานต์
              ชาวเหนือมีประเพณีสงกรานต์ที่เหมือนกับชาวไทยภาคอื่น คือ มี การทรงน้ำพระพุทธรูป มีประเพณีขนทรายเข้าวัด ประเพณีรดน้ำ ดำรง ขอพรจากผู้หลักผู้ใหญ่ สิ่งที่เป็นประเพณีท้องถิ่น คือ มีการทำ บุญถวายขันข้าวที่ถวายตุง และไม้ค้ำสะหลีหรือไม้ค้ำโพธิ์ เพื่ออุทิศ ส่วนกุศลให้แก่วิญญาณผีบรรพบุรุษ และเป็นผลบุญสำหรับตนเอง

ประเพณีสืบชะตา
   

     ชาวล้านนามีความเชื่อว่า การทำพิธีสืบชะตาจะช่วยต่ออายุให้ตน เอง ญาติพี่น้อง และบ้านเมืองให้ยืนยาว ทำให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองและความเป็นสิริมงคล โดยแบ่งการสืบชะตาแบ่งออกเป็น 3ประเภท คือ
1.             การสืบชะตาคน นิยมทำกันหลายโอกาส เช่น วันเกิด วันที่
ได้รับยศตำแหน่ง วันขึ้นบ้านเมือง

2.             การสืบชะตาบ้าน เป็นการสืบชะตาชุมชนหรือหมู่บ้าน เพื่อให้เกิดสิริมงคลปัดเป่าทุกภัยต่างๆ นิยม
จัดเมื่อผ่านช่วงสงกรานต์ไปแล้ว

3.             การสืบชะตาเมือง เป็นพิธีกรรมที่จัดขึ้นด้วยความเชื่อว่าเทวดาจะช่วยอำนวยความสุขให้บ้านเมือง
เจริญรุ่งเรือง อุดมสมบูรณ์ ในสมัยโบราณพระเจ้าแผ่นดินเป็นประธานในพิธีสืบชะตาเมือง

วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับประเพณีพื้นเมือง

ประเพณีปอยน้อย
     เป็นประเพณีบวช หรือการบรรพชาของชาวเหนือจะมีชื่อเรียกต่างกันในบางท้องถิ่น เช่น ปอยน้อย ปอย บวช ปอยลูกแก้ว ปอยส่างลอง นิยมจัดภายในเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม ซึ่งเก็บเกี่ยวพืชผลเสร็จแล้ว ใน พิธีบวชจะมีการจัดงานเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ มีการแห่งลูกแก้วหรือผู้บวชที่จะแต่งตัวอย่างสวยงามแบบ กษัตริย์หรือเจ้าชาย เพราะถือคตินิยมว่าเจ้าชายสิทธัตถะได้เสด็จออกบวชจนตรัสรู้


    การแห่นิยมให้ลูกแก้วขี่ม้าหรือขี่ขอคน มีการร้องรำกันอย่างสนุก สนาน ในงานนี้จะทำให้เด็กชายธรรมดากลายเป็น ลูกแก้ว หรือเด็กมีค่าเหมือนแก้ว บางท้องถิ่นการบวชลูกแก้วเป็นการเปิด โอกาสให้ผู้ที่ไม่ใช่พ่อแม่หรือเครือญาติร่วมกันเป็นเจ้าภาพด้วย เพื่อ เป็นการแบ่งบุญและช่วยสนับสนุนค่าใช่จ่ายในการจัดงาน เจ้าภาพ จะเรียกว่า "พ่อออก หรือบิดาแห่งการจากไป" จากชีวิตทางโลก ของผู้บวช และผู้บวชจะปฏิบัติตนต่อพ่อออกเหมือนเป็นพ่อแม่จริงๆ พ่อออกและลูกแก้วจึงเกิดความผูกพันกัน กล่าวได้ว่าเป็นการสร้าง ความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างคนในสังคม
    ปัจจุบันประเพณีบวชลูกแก้วที่มีชื่อเสียงคือ ประเพณีบวชลูกแก้ว ที่จังหวัดแม่ฮองสอน เมื่อข้าวเหนียวสุก แล้วจะนำออกมาจากหวดมาผึ่งบนภาชนะที่เรียกว่า "กั๊ว หรือกระโบม" ซึ่งเป็นภาชนะที่คล้ายรูปกระจาดที่ ทำด้วยไม้ เพื่อให้ข้าวเหนียวไม่แฉะ และบรรจุข้าวเหนียวลงภาชนะจักสานที่เรียกว่า ก่องหรือกระติบ ในภาค อีสาน ทำให้ข้าวเหนียวอุ่นอยู่ได้นานจนถึงเวลารับประทาน

ประเพณีแห่นางแมว (ช่วงเวลา ประมาณเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม)

      การประกอบอาชีพทางเกษตรในสมัยก่อนนั้น  ต้องพึ่งพาสภาพดินฟ้าอากาศ ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติ ถ้าปีไหนฝนดีข้าวกล้าในนาก็เจริญงอกงามดี  หากปีใดฝนแล้ง หรือฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ข้าวกล้าในนาก็จะเสียหาย ไม่มีน้ำจะทำนาชาวบ้านไม่มีวิธีการอื่นใดที่จะช่วยได้ จึงพึ่งพาสิ่งเหนือธรรมชาติต่างๆ นาๆ เป็นต้นว่า ทำพิธีขอฝนโดยการแห่นางแมว เชื่อกันว่าหากกระทำเช่นนั้นแล้วจะช่วยให้ฝนตกลงมาได้

พิธีกรรม
     นำชลอมมาตกแต่งให้สวยงาม ใส่แมวไว้ข้างในมัดผูกให้เรียบร้อย หลังใส่คานหามหัวท้ายสองคนแห่ไป รอบๆ หมู่บ้านโดยมีกลองยาวนำขบวน พร้อมกับร้องเพลงแห่นางแมว ผ่านหน้าบ้านใคร เจ้าของบ้านก็จะเอา กระบวยตักน้ำมาสาดรดแมว พร้อมทั้งให้รางวัลแก่พวกแห่ เช่น เหล้า ข้าวปลา หรือของกินอื่นๆ แล้วเคลื่อน ต่อไปเรื่อยๆ จนหมดเขตหมู่บ้าน ก็นำของนั้นมาเลี้ยงกัน กระทำดังนี้จนกว่าฝนจะตก เนื้อร้องเพลงแห่นาง แมว มีดังต่อไปนี้

นางแมวเอย  ขอฟ้าขอฝน  ขอน้ำมนต์รดแมวข้ามั่ง
ค่าเบี้ยค่าจ้าง  ค่าหาแมวมา  ถ้าไม่ให้กินปลา  ขอให้ปูกัดข้าว
ถ้าไม่ให้กินข้าว  ขอให้ข้าวตาฝอย  ถ้าไม่ให้กินอ้อย  ขอให้อ้อยเป็นแมง
ถ้าไม่ให้กินแตง  ขอให้แตงคอคอด  ถ้าไม่ให้นอนกอด  ขอให้มอดเจาะเรือน
ถ้าไม่ให้นอนเพื่อน  ขอให้เรือนทลาย  แม่ยายหอยเอย  กะพึ่งไข่ลูก
ลูกไม้จะถูก  ลูกไม้จะแพง ฝนตกพรำๆ  มาลำกระแชง
ฝนตกเขาน้อย  มาย้อยชายคา  ฝนตกเขาหลวง  เป็นพวงระย้า
ไอ้เล่  เหล  เล่  ฝนก็เทลงมา  เอ้า  ฝนก็เทลงมา  เอ้า  ฝนก็เทลงมา ๆๆๆๆ

วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับที่อยู่อาศัย

     ลักษณะเด่นชัดในทางสังคมและวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของชุมชนในภาคเหนือ ที่ไม่เหมือนกับภาคอื่นๆ ก็ คือ บรรดาชุมชนหมู่บ้านต่างๆ ที่อยู่ในหุบเขาเดียวกันนั้น จะต้องมี ความสัมพันธ์กันทางสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรมอย่างใกล้ชิด จึง จะอยู่ร่วมกันได้ สิ่งนี้แลเห็นได้จากการร่วมมือกันในการทำให้มีการ ชลประทาน เหมืองฝายขึ้น นั่นก็คือแต่ละชุมชนจะต้องมาร่วมกันทำ ฝายหรือเขื่อนกั้นน้ำ และขุดลอกลำเหมืองเพื่อระบาย น้ำจากฝายที่ กั้นลำน้ำไปเลี้ยงที่นาของแต่ละชุมชน ทั้งนี้เป็นเพราะในแต่ละหุบ เขานั้น ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ลาดลงสู่บริเวณที่เป็นแอ่งตอน กลางที่มีลำน้ำไหลผ่าน ลำน้ำดังกล่าวนี้เกิดจากลำธาร หรือลำน้ำ สาขาที่ไหลลงจากที่สูงทั้งสองข้างหุบเขามาสมทบด้วย จำนวนลำ น้ำเหล่านี้มีจำกัดไม่เพียงพอแก่การเพาะปลูกของผู้คนทั่วไป จึงจำ เป็นต้องทำฝายทดน้ำและขุดเหมืองจากบริเวณลำน้ำหรือธารน้ำนั้น เข้าไปเลี้ยงที่นาและเพื่อการใช้น้ำของ ชุมชน จึงต้องมีการออกแรงร่วมกัน เกิดมีกฎเกณฑ์และแบบแผนในการร่วมแรงกันทำเหมืองฝายมาแต่ โบราณ จึงเป็นกิจกรรมที่กษัตริย์เจ้าเมืองหรือนายบ้าน จะต้องคอยควบคุมดูแลให้มีการร่วมมือกัน และลง โทษผู้ที่ไม่ร่วมมือแต่ทว่าลักน้ำขโมยน้ำจากผู้อื่น จึงเกิดมีกฎหมายโบราณขึ้นที่เรียกว่า "กฎหมายมังราย"เชื่อว่าพญามังรายผู้สร้างแคว้นล้านนาเป็นผู้บัญญัติขึ้น

    ที่อยู่อาศัย วัฒนธรรมประเพณี สภาพดินฟ้าอากาศ มีส่วนกำหนดลักษณะที่อยู่อาศัยของผู้คน บ้านเรือน ในภาคเหนือ นิยมสร้างด้วยวัสดุธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่นสอดคล้องกับวิถีชีวิต ตัวเรือนมีขนาดเล็กใต้ถุน สูง หลังคาทรงจั่ว ประดับยอดหลังคาด้วยไม้แกะสลักไขว้กัน เรียกว่า "กาแล" ชาวเหนือที่มีฐานะดีจะอยู่ เรือนที่ค่อนข้างมีขนาดใหญ่และประณีตมากขึ้น


บ้านภาคเหนือ

    กาแล คือ ไม้ประดับยอดจั่วหลังคาของบ้านล้านนาภาคเหนือ ของเรา มีประวัติและความเป็นมาหลาก หลายอย่าง แต่หากพิจาร ณาในเชิงช่างแล้ว กาแลนี้เป็นตัวกันไม่ ให้ “อีกา” หรือนกทั่วไปมาเกาะที่กลางจั่ว หน้าบ้าน (กลางปั้นลม) ทำให้นกเหล่านั้นไม่มา ถ่ายมูลรดหลังคาบ้านให้เป็นคราบน่าเกลียดจะทำความสะอาดก็ยากเย็น ซึ่งชาวบ้านถือว่าเป็นสิ่งอัปมงคล 

 วัฒนธรรมที่สืบเนื่องจากการทำเกษตรกรรม
              คนไทยในอาณาจักรล้านนามีชีวิตและความเป็นอยู่ โดยการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา หุบเขา มีพื้นที่ราบจำนวนน้อย คือ ประมาณ 1/4 ของพื้นที่ทั้งหมด ชาวบ้านทำนาแบบนาทดน้ำ พื้นที่สูงปลูกข้าวไร่ พื้นที่ที่ราบในแอ่งเขาอุดมสมบูรณ์ ปลูกข้าวและพืชอื่นๆ ได้ดี คือ พื้นที่ราบแอ่งเชียงใหม่ลำพูน และแอ่งเชียงราย ส่วนลำปาง แพร่ น่าน ผลิตข้าวได้น้อย ระบบเศรษฐกิจเป็นแบบผลิตเพื่อให้พออยู่พอกิน การติดต่อค้าขายระหว่างกันก็จะเป็นประเภทวัวต่างสินค้า มีของป่า เกลือ ผ้า อัญมณี เป็นต้น ส่วนการค้าขายในหมู่บ้านก็จะมี กาดมั่วใครมีของอะไรก็นำมาวางขายได้

คำว่า “กาดมั่ว” เป็นภาษาพื้นบ้านของทางล้านนา ซึ่งหมายถึง ตลาดที่คนเรานิยมไปซื้อทั้งของกินของใช้ ของกินพื้นบ้านทางภาคเหนือ และของใช้ที่ชาวบ้านประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมา แล้วจะออกนำมาขายไม่ว่าจะเป็นน้ำพริก แกงฮังเล แกงโฮะ ใส้อั่ว จิ้นปิ้ง (หมูปิ้ง) ขนมจีนน้ำเงี้ยว เป็นต้น ตลอดจนข้าวของเครื่องใช้ในชีวิต ประจำวัน ซึ่ง 'กาดมั่วจะเป็นตลาดที่ขายของปนเปกันไปอย่างไม่มีระเบียบเรียบร้อย


  กาดมั่ว
     ชาวเหนือส่วนใหญ่จะมีอาชีพทำไร่ทำนา การทำนาส่วนใหญ่ก็่จะเป็นนาดำ ที่ลุ่มมากๆ จึงทำนาหว่านคน เหนือมักจะปลูกข้าวเหนียวกันเป็นส่วนใหญ่ เพราะบริโภคข้าวเหนียว ข้าวเหนียวภาคเหนือถือว่าเป็นข้าวที่มีคุณภาพดี นึ่งสุกแล้วก็จะขาวสะอาดอ่อน และนิ่มน่ารับประทาน ข้าวพันธุ์ที่มีชื่อเสียง คือ "ข้าวสันป่าตอง"นอกจากทำนาแล้วยังปลูกพืชไร่อื่นๆ เช่น หอม กระเทียม ถั่ว ยาสูบ เป็นต้น นอกจากปลูกข้าวแล้วอาชีพทำ สวนก็เป็นที่นิยมกัน โดยเฉพาะทำสวนลำไย และลิ้นจี่ นอกจากจะขายให้คนไทยได้รับประทานแล้ว ยังส่ง ขายต่างประเทศอีกด้วย


     ยังมีอาชีพอีกอย่างหนึ่งซึ่งจะเป็นวัฒนธรรมของชาวบ้านภาคเหนือ คือ "การทำเมี่ยง" ซึ่งชาวเหนือชอบ กินหมากและอมเมี่ยง โดยเอาใบเมียงที่เป็นส่วนใบอ่อนนำมาหมักให้มีรสเปรี้ยวอมฝาด เมื่อหมักนานได้ที่ เวลาจะเอาใบเมี่ยงมาอมก็ผสมเกลือเม็ดหรือของกิน หรืออย่างอื่นแล้วแต่จะชอบ

     นอกจากการอมเมี่ยงของคนล้านนา ทั้งหญิงและชายจะสูบบุหรี่ที่ มวนด้วยใบตองกล้วย มวนหนึ่งขนาดเท่านิ้วมือและยาวเกือบคืบ ชาว บ้านภาคเหนือเรียกบุหรี่ชนิดนี้ ว่า “ขี้โย หรือ บุหรี่ขี้โย ที่นิยม สูบกันมาก อาจเนื่องมาจากอากาศหนาวเย็น การสูบบุหรี่คงจะทำให้ ร่างกายอบอุ่นขึ้น

     นอกจากอาชีพเกษตรกรรม ชาวเหนือยังประกอบอาชีพอื่นอีก อาจ เรียกได้ว่าเป็นหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรมในครัวเรือนก็ได้ คือ ผู้หญิง จะทอผ้า เมื่อเสร็จจากการทำนา นอกจากนั้นยังมีการแกะสลักไม้หรือ เทียน การทำเครื่องเงิน เครื่องเขิน และการทำเครื่องเหล็ก เป็นต้น



วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับอาหาร

    ชาวเหนือมีวัฒนธรรมการกินที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น นิยมรับประทาน ข้าวเหนียวเป็นหลัก จึงมีภาชนะใส่ข้าวเหนียวในขั้นตอนต่างๆ เช่น ใช้ภาชนะที่เรียกว่า "หวด" ในการนึ่งข้าวเหนียว ซึ่งมีใช้กันทั่วไปใน ภาคเหนือตอนบน คือ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ตาก สานด้วยตอกไม้ไผ่ โดยทั่วไปใช้ไผ่เรี้ย หรือ ไผ่บง การใช้ตอกเรี้ยและตอกบงมีข้อดีข้อเสียต่างกัน หวดที่สานด้วย ไผ่เรี้ยจะมีความเหนียว ยืดหยุ่นอ่อนตัวได้ดี เวลาบีบปากหวดจะอ่อน ตัวตามไม่หัก ส่วนหวดที่สานด้วยไผ่บง มีความแข็งแรงกว่า ข้อเสีย คือหักง่าย ส่วนใหญ่นิยมใช้หวดที่ทำด้วยไผ่บงมากกว่า ลักษณะของ หวดส่วนที่เป็นก้นจะสานให้ตาห่าง กันพอเมล็ดข้าวสารไม่หลุดลอดออกได้ มีมุม 4 มุม ส่วนลำตัวของหวด จะเป็นทรงกรวย ปากผายออกกว้างกว่าส่วนก้น ขนาดของหวดมีตั้งแต่ 20 เซนติเมตรไปจนถึง40-50 เซน ติเมตร

    เมื่อข้าวเหนียวสุกแล้วจะนำออกมาจากหวดมาผึ่งบนภาชนะที่เรียกว่า "กั๊ว หรือกระโบม" ซึ่งเป็นภาชนะ ที่คล้ายรูปกระจาดที่ทำด้วยไม้เพื่อให้ข้าวเหนียวไม่แฉะ และบรรจุข้าวเหนียวลงภาชนะจักสาน ที่เรียกว่า"ก่อง หรือกระติบ" ในภาคอีสาน ทำให้ข้าวเหนียวอุ่น อยู่ได้นานจนถึงเวลารับประทาน





    อาหารของภาคเหนือประกอบด้วยข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก มีน้ำ พริกชนิดต่างๆ เช่น น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง มีแกงหลายชนิด เช่น แกงโฮะ แกงแค นอกจากนั้นยังมี แหนม ไส้อั่ว แคบหมู และผักต่างๆ สภาพอากาศก็มีส่วนสำคัญ ที่ทำให้อาหารพื้นบ้านภาคเหนือแตก ต่างจากภาคอื่นๆ คือ การที่อากาศหนาวเย็น เป็นเหตุผลให้อาหาร ส่วนใหญ่มีไขมันมาก

     อาหารภาคเหนือ ส่วนใหญ่รสชาดไม่จัด ไม่นิยมใส่น้ำตาลใน อาหาร ความหวานจะได้จากส่วนผสมของ อาหารนั้นๆ เช่น ผัก ปลา และนิยมใช้ถั่วเน่าในการปรุงอาหาร คนเหนือมีน้ำพริกรับประทานหลายชนิด อาทิ น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง ผักที่ใช้จิ้มส่วนมากเป็นผัก นึ่ง ส่วนอาหารที่รู้จักกันดีได้แก่ ขนมจีนน้ำเงี้ยว ที่มีเครื่องปรุงสำคัญ ขาดไม่ได้คือ "ดอกงิ้ว" ซึ่งเป็นดอกนุ่มที่ตากแห้ง ถือเป็นเครื่องเทศ พื้นบ้านที่มีกลิ่นหอม หรืออย่าง ตำขนุน แกงขนุน ที่มีส่วนผสมเป็น ผักชนิดอื่น เช่น ใบชะพลู ชะอม และมะเขือส้ม

 วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับเพลงพื้นบ้าน

     เพลงพื้นบ้านในของภาคเหนือ เป็นเพลงสนุกสนาน เช่น เพลง ค่าว ซึ่งเป็นบทขับร้องที่มีทำนองสูงต่ำ ไพเราะ เพลงซอ เป็นการ ขับร้องโต้ตอบเกี้ยวพาราสีกัน จ๊อย หรือการขับลำนำในโอกาสต่างๆ และทำฮ่ำหรือคำฮ่ำ ซึ่งเป็นการขับร้องหมู่ เป็นต้น

     เพลงพื้นบ้านภาคเหนือ สามารถใช้ร้องเล่นได้ทุกโอกาส โดยไม่ จำกัดฤดูหรือ เทศกาลใดๆ ซึ่งจะใช้ร้องเพลงเพื่อผ่อนคลายอารมณ์ และการพักผ่อนหย่อนใจ โดยลักษณะการขับร้องและท่วงทำนองจะ อ่อนโยน ฟังดูเนิบนาบนุ่มนวล สอดคล้องกับเครื่องดนตรีหลัก ได้แก่ ปี่ ซึง สะล้อ เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถจัดประเภทของเพลงพื้นบ้านของภาคเหนือได้ 3 ประเภท คือ

1.             เพลงซอ ใช้ร้องโต้ตอบกัน โดยมีการบรรเลงปี่ สะล้อและซึงคลอไปด้วย

2.             เพลงจ๊อย เป็นการนำบทประพันธ์ของภาคเหนือ นำมาขับร้องเป็นทำนองสั้นๆ โดยเนื้อหาของคำ ร้องจะเป็นการระบายความในภายในใจ แสดงอารมณ์ความรัก ความเงียบเหงา มีนักร้องเพียงคน เดียว และจะใช้ดนตรีบรรเลงหรือไม่ก็ได้ เช่น จ๊อยให้กับคนรักรู้คนในใจ จ๊อยประชันกันระหว่างเพื่อน
ฝูง และจ๊อยเพื่ออวยพรในโอกาสต่างๆ หรือจ๊อยอำลา

3.             เพลงเด็ก มีลักษณะคล้ายกับเพลงเด็กของภาคอื่นๆ คือเพลงกล่อมเด็ก เพลงปลอบเด็ก และเพลงที่ เด็กใช้ร้องเล่นกันได้แก่ เพลงฮื่อลูก และเพลงสิกจุง จา

     สิกจุ่งจา หรือเล่นชิงช้า สิกจุ่งจาเป็นการละเล่นของภาคเหนือ ผู้เล่นมีกี่คนก็ได้ ตามจำนวนชิงช้าที่มี หากผู้เล่นมากกว่าชิงช้าที่มี ก็อาจจะเปลี่ยนกัน เล่นอุปกรณ์การเล่น ชิงช้าทำด้วยเชือกเส้นเดียว
สอดเข้าไปในรูกระบอกไม้ซาง แล้วผูกปลายเชือกทั้งสองไว้กับต้น
ไม้หรือพื้นเรือน

วิธีเล่น แกว่งชิงช้าไปมาให้สูงมากๆ บทร้องประกอบผู้เล่นจะร้องตาม
จังหวะที่ชิงช้าแกว่งไกวไปมา ดังนี้

      "สิกจุ่งจา อีหล้าจุ่งจ๊อย ขึ้นดอยน้อย ขึ้นดอยหลวง เก็บผักขี้ขวง ใส่ซ้าทังลุ่ม เก็บฝักกุ่ม ใส่ซ้าทั้งสนเจ้านายตน มาปะคนหนึ่ง ตีตึ่งตึง หื้ออย่าสาวฟังควักขี้ดัง หื้ออย่าสาวจูบ แปงตูบน้อย หื้ออย่าสาวนอน ขี้ผองขอน หื้ออย่าสาวไหว้ ร้อยดอกไม้ หื้ออย่าสาวเหน็บ จักเข็บขบหู ปูหนีบข้าง ช้างไล่แทง แมงแกงขบเขี้ยว เงี้ยวไล่แทง ตกขุมแมงดิน ตีฆ้องโม่งๆ"

    นอกจากนี้ยังมีเพลงกล่อมลูกที่ภาคเหนือใช้ในการกล่อมลูกหรือเด็ก ลักษณะเด่นของเพลงกล่อมเด็ก  ภาคเหนือนอกจากจะขึ้นต้นด้วยคำว่าสิกจุ้งจาโหนแล้วยังมักจะขึ้นต้นด้วยคำว่า "อื่อจา" เป็นส่วนใหญ่ จึงเรียกเพลงกล่อมเด็กนี้ว่า เพลงอื่อลูกทำนองและลีลาอื่อลูกจะเป็นไป ช้าๆ ด้วยน้ำเสียงทุ้มเย็นตามถ้อยคำที่สรรมาเพื่อสั่งสอนพรรณาถึงความรัก ความห่วงใยลูกน้อยจนถึงคำขู่ คำปลอบ ขณะยังไม่ยอมหลับ ถ้อยคำ ต่างๆ ในเพลงกล่อมเด็กภาคเหนือสะท้อนให้เห็นสภาพความเป็นอยู่ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมต่างๆ ของ คนในภาคเหนือในอดีตจนปัจจุบันได้เป็นอย่างดี นับเป็นประโยชน์ ทางอ้อมที่ได้รับนอกเหนือจากความอบ อุ่น ใจของลูกที่เป็นประโยชน์โดยตรงของเพลงกล่อมเด็ก



การร้องเพลงกล่อมลูก

วัฒนธรรมภาคอีสาน

                ภาคอีสานมีพื้นที่กว้างใหญ่ พื้นที่ราบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมักมีทะเลสาบรูปแอกเป็นจำนวนมาก แต่ทะเลสาบเหล่านี้จะมีน้ำเฉพาะฤดูฝนเท่านั้น เมื่อถึงฤดูร้อนน้ำก็จะเหือดแห้งไปหมด เพราะดินส่วนใหญ่ เป็นดินทรายไม่อุ้มน้ำ น้ำจึงซึมผ่านได้เร็ว ภาคนี้จึงมีปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ำ และดินขาดความอุดม สมบูรณ์ ทำให้พื้นที่บางแห่งไม่สามารถใช้ประโยชน์ในการเกษตรได้อย่างเต็มที่ ด้วยที่มีความแห้งแล้ง ขาด แคลนน้ำ ทำให้เกิดความเชื่อ และประเพณีเกี่ยวข้องกับการขอฝน เช่น งานบุญบั้งไฟ ซึ่งถือว่าเป็นเทศกาล สำคัญ หรือด้วยเหตุผลจากความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ ทำให้มีกลุ่มคนหลายกลุ่มอพยพเข้ามาจากดิน แดนใกล้เคียง มีการสร้างสรรค์วัฒนธรรมของกลุ่มขึ้น เช่น การพูดภาษาอีสาน ภาษาเขมร ภาษาส่วย การ แสดงหมอลำ การร้องกันตรึม เป็นต้น

วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหารการกิน

   อาหารหลักของชาวอีสาน คือ ข้าวเหนี่ยว เช่นเดียวกับชาวเหนือ สิ่งของเครื่องใช้เกี่ยวกับการทำและเก็บ อาหารจึงเหมือนกัน ส่วนอาหารจานหลักเกี่ยวกับข้าวเหนี่ยว คือ ปลาร้า ซึ่งเป็นปลาที่นำมาหมักกับเกลือ และรำหรือข้าวคั่ว นำมาปรุงเป็นอาหารประเภทต่างๆ เช่น

น้ำพริกปลาร้า หรือน้ำปลาร้ามาเป็นเครื่องปรุงรสแทนน้ำ ปลาในอาหารชนิดต่างๆ เช่น ลาบ ก้อย หมก ต้ม คั่ว แกง อ่อม และอาหารเกือบทุกมื้อต้องมีแจ่วที่ใส่น้ำปลาร้าเป็น เครื่องปรุง ความเคยชินในการรับประทานอาหารของชาว อีสาน คือ ชอบรับประทานอาหารดิบๆ ด้วยความเชื่อว่าจะ ทำให้ร่างกายแข็งแรง แต่อาหารแบบนี้มีพยาธิใบไม้ในตับ ทำให้ชาวอีสานส่วนใหญ่เป็นโรคพยาธิ และสุขภาพไม่ค่อย ดี ทางการจึงรณรงค์และส่งเสริมให้ชาวอีสานมีความรู้เรื่อง โภชนาการ เพื่อเปลี่ยนค่านิยมในการรับประทานให้ถูกสุข ลักษณะ

    วัฒนธรรมเรื่องอาหารการกินของชาวอีสาน ปัจจุบันแพร่หลายไปทั่วประเทศและต่างประเทศ ที่มีชาว อีสานทำงานอยู่ เห็นได้จากการนำปลาร้ามาแปรรูปเป็นปลาร้าผง ปลาร้าตากแห้ง เพื่อส่งออกไปขายยังต่าง ประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่มีแรงงานชาวอีสานและชาวลาวอยู่มาก ปลาร้าจึงเป็นสินค้าที่ทำรายได้เข้า ประเทศอีกชนิดหนึ่ง

                                      
วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัย

     เรือนไทยภาคอีสาน เป็นหนึ่งในเรือนไทย 4 ภาคของไทย แบ่งออกได้เป็นการปลูกเรือนในลักษณะชั่ว คราว กึ่งถาวร หรือเรือนถาวรประเภทของเรือนอีสาน

เอกลักษณ์ของเรือนไทยภาคอีสาน

     มีลักษณะเด่นอยู่ 3 ประเภท คือ

1.             ไม่นิยมทำหน้าต่างทางด้านหลังตัวเรือน ถ้าจะทำจะเจาะเป็นช่องเล็กๆ พอให้ยี่นศีรษะออกไปได้เท่า นั้น

2.             ไม่นิยมต่อยอดป้านลมให้สูงขึ้นไป เหมือนเรือนของชาวไทยล้านนาที่เรียกว่า 'กาแล'

3.             ไม่นิยมตั้งเสาเรือนบนตอม่อ เหมือนเรือนของชาวไทยมุสลิมทางภาคใต้ ด้วยเหตุที่ชาวไทยภาค อีสานปลูกเรือนด้วยการฝังเสา จึงไม่มีการตั้งบนตอม่อ

ลักษณะชั่วคราว

    สร้างไว้ใช้เฉพาะบางฤดูกาล เช่น "เถียงนา" หรือ "เถียงไฮ่" ทำ ยกพื้นสูง เสาไม้จริง โครงไม้ไผ่ หลังคามุงหญ้า หรือแป้นไม้ที่รื้อมา จากเรือนเก่า พื้นไม้ไผ่สับฟาก ทำฝาโล่ง หากไร่นาไม่ไกลสามารถ ไปกลับได้ มีอายุใช้งาน 1-2 ปี สามารถรื้อซ่อมใหม่ได้ง่าย

 ลักษณะกึ่งถาวร

     ก็คือจะเป็นแบบกระต๊อบกระท่อม หรือเรือนเล็ก จะไม่มั่นคงแข็ง แรงนัก มีชื่อเรียก "เรือนเหย้า" หรือ "เฮือนย้าว" หรือ "เย่าเรือน"อาจเป็นแบบเรือนเครื่องผูก หรือเป็นแบบเรือนเครื่องสับก็ได้ เรือน เหย้ากึ่งถาวรยังมี "ตูบต่อเล้า" ซึ่งเป็นเพิงที่สร้างอิงกับตัวเล้าข้าว และ "ดั้งต่อดิน" ซึ่งเป็นเรือนที่ตัวเสาดั้งจะฝังถึงดิน และใช้ไม้ท่อน เดียวตลอดสูงขึ้นไปรับอกไก่ เป็นเรือนพักอาศัยที่แยกมาจากเรือน ใหญ่ เรือนเหย้ากึ่งถาวรอีกประเภทหนึ่งคือ "ดั้งตั้งคาน" หรือ "ดั้งตั้ง ขื่อ" ลักษณะคล้ายเรือนเกยทั่วไป แต่พิถีพิถันน้อยกว่าอยู่ในประเภท ของเรือนเครื่องผูก แตกต่างจากเรือนดั้งต่อดิน ตรงที่เสาดั้งต้น กลางจะลงมาพักบนคานของด้านสะกัด ไม่ต่อถึงดิน

ลักษณะถาวร

     เป็นเรือนเครื่องสับหรือเรือนไม้กระดานอาจจำแนกได้เป็น 3 ชนิด คือ เฮือนเกย เฮือนแฝด เฮือนโข่ง ลักษณะใต้ถุนสูงเช่นเดียวกับภาคอื่นๆ เรือนเครื่องสับเหล่านี้ ไม่นิยมเจาะช่องหน้าต่าง มักทำหน้าต่างเป็น ช่องแคบๆ ส่วนประตูเรือนทำเป็นช่อง ออกทางด้านหน้าเรือนเพียงประตูเดียว ภายในเรือนจึงค่อนข้างมืด เพราะในฤดูหนาวมีลมพัดจัดและอากาศหนาวจัด จึงต้องทำเรือนให้ทึบ และกันลมได้ หลังคาเรือนทำเป็น ทรงจั่วอย่างเรือนไทยภาคกลาง มุงด้วยกระเบื้องดินเผาหรือกระเบื้องไม้สัก จั่วกรุด้วยไม้ตีเกล็ดเป็นรูปรัศมี ของอาทิตย์ทั้งสองด้าน รอบหลังคาไม่มีชายคา หรือปีกนกยื่นคลุมตัวบ้านเหมือนอย่างเรือนไทยภาคกลาง




วัฒนธรรมเกี่ยวกับที่สืบเนื่องจากการทำเกษตรกรรม

     ในภาคอีสานมีลักษณะทำการเกษตรแบบยังชีพ (subsistence) เป็นส่วนมา คือทำการเกษตรเพื่อที่จะนำผลิตผลมาบริโภคในครัว เรือนของตน เช่น ปลุกข้าวไว้กินปลูกฝ้ายไว้ทอผ้า เลี้ยงไหมไว้ ทอผ้า เป็นต้น การเกษตรส่วนใหญ่จะเน้นที่ การทำนา เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งการทำนายังคงใช้แรงงานจากคนและสัตว์อยู่ บริเวณปลูกข้าวที่ สำคัญคือที่รายลุ่มแม่น้ำ เกษตรกรยังมีการใช้แรงงานไม่เต็มที่ตลอด ปี ในช่วงฤดูแล้งเป็นช่วงที่ทำงานไม่เต็มที่มากที่สุดเลยต้องย้ายเข้ากรุงเพื่อไปหางานที่นั้นแทน    ปัจจุบันมีการตื่นตัวที่จะปลูกพืชเงินมาก ขึ้นโดยใช้ที่ดอนหรือถากถางป่าโคก เพื่อเพราะปลูก ทั้งนี้เพราะ
ตลาดมีความต้องการมากขึ้น ดังนั้นภาคอีสานจึงกลังประสบปัญหาป่าไม้ถูกบุกรุกภาคอีสานมีการพัฒนาชลประทานมากขึ้น โดยมีการพัฒนาชลประทานแบบอ่างเก็บน้ำมากที่สุด อ่างเก็บน้ำเล็กๆที่สร้างขึ้น มากกว่า 100 แห่ง แต่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการเพราะยังมีพื้นที่อีกจำนวนมากที่อยู่นอกเขตชลประทาน ดังนั้นรัฐบาลกำลังหาลูทางที่จะพัฒนาน้ำบาดาลออกมาใช้ในการเกษตรขนาดย่อมและเพื่อบริโภคภาคอีสานมีพื้น ที่ดินขาดความอุดมสมบูรณ์กว้างขวาง จึงทำให้ราษฎรได้รับผลตอบแทนที่ต่ำมาก ในภาคอีสานมีการเลี้ยงสัตว์แบบพื้นเมืองเป็นส่วนมาก คือ จะเลี้ยงโคกระบือเป็นฝูงเล็กๆ ปล่อยให้หากินหญ้าตามไร่นา    ทรัพยากรธรรมชาติของอีสานทรัพยากรแร่ธาตุที่ปรากฏอยู่ในทุกจังหวัดของอีสานคือ เกลือหิน ซึ่งสะสมอยู่ในดินชั้นล่าง แต่การขุดมาใช้งานยังไม่ได้ทำกันเลยและแร่เหล็ก,แมงกานีสยิบซัมสังกะสีตะกั่ว,ทองแดง ในจังหวัดเลยทรัพยากรป่าไม้ของภาคอีสาน จะมีป่าดงดิบในบริเวณภูเขาและลุ่มน้ำและต่างๆ ที่ความ ชุ่มชื่นมาก เช่นป่าแถบจังหวัดเลยข่อนแก่นนครพนม,สกลนครนครราชสีมา และอีกหลายจังหวัดที่มีภู เขา ป่าเหล่านี้ถูกบุกรุกทำลายอย่างหนัก เพื่อที่จะทำเป็นที่เพราะปลูกและนำไม้ออกมาใช้ส่วนป่าแดง,ป่าแพะหรือป่าโคกหรือป่าเต็งรัง มีมากถึง 70-80 %ของพื้นที่ต่างๆ ในภาค ซึ่งป่าชนิดนี้จะเจริญเติบโตเร็ว ในบริเวณที่เป็นดินทรายดินกรวดดินลูกรังซึ่งเป็นดินที่ไม่อุดมสมบูรณ์และแห้งแล้งในฤดูแล้ง ลักษณะของป่าชนิดนี้จะเป็นป่าโปร่ง มีต้นไม้ขนาดเล็กถึงปานกลาง ไม้มีค่าของป่านี้คือ ไม้เต็งรังประดู่พลวง และพื้นล่างของป่าจะมีหญ้าขึ้นแซมทั่วไปป่าชนิดนี้ปัจจุบันมีปัญหาเรื่องการโค่นถางทำลายเพื่อใช้งานเป็น ที่เพราะปลูก

     จากการเลี้ยงไหมจึงมีการทอผ้าอีด้วยผ้าภาคอีสานชาวอีสานถือว่าการทอผ้าเป็นกิจกรรมยามว่างหลังจากฤดูการทำนาหรือว่างจากงานประจำอื่นๆ ใต้ถุนบ้านแต่ละบ้านจะกางหูกทอผ้ากันแทบทุกครัวเรือนโดย ผู้หญิง ในวัยต่างๆ จะสืบทอดกันมาผ่านการจดจำและปฏิบัติจากวัยเด็กทั้งลวดลายสีสัน การย้อมและการ ทอ ผ้าที่ทอด้วยมือจะนำไปใช้ตัดเย็บทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม หมอน ที่นอน ผ้าห่ม และการทอผ้ายังเป็นการ เตรียมผ้าสำหรับการออกเรือนสำหรับหญิงวัยสาวทั้งการเตรียมสำหรับตนเองและเจ้าบ่าว ทั้งยังเป็นการวัด ถึงความเป็นกุลสตรีเป็นแม่เหย้าแม่เรือนของหญิงชาวอีสานอีกด้วย ผ้าที่ทอขึ้นจำแนกออกเป็น 2 ชนิด คือ

1.             ผ้าทอสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน จะเป็นผ้าพื้นไม่มีลวดลายเพราะต้องการความทนทานจึงทอด้วย ฝ้ายย้อมสีตามต้องการ

2.             ผ้าทอสำหรับโอกาสพิเศษ เช่น ใช้ในงานบุญประเพณีต่างๆ งานแต่งงานงานฟ้อนรำผ้าที่ทอจึงมัก มีลวดลายที่สวยงามวิจิตรพิสดารมีหลากหลายสีสัน ประเพณีที่คู่กันมากับการทอผ้าคือการลงข่วง โดยบรรดาสาวๆ ในหมู่บ้านจะพากันมารวมกลุ่มก่อกองไฟ บ้างก็สาวไหม บ้างก็ปั่นฝ้าย กรอฝ้าย ฝ่ายชายก็ถือโอกาสมาเกี้ยวพาราสีและนั่งคุยเป็นเพื่อนบางครั้งก็มีการนำดนตรีพื้นบ้านอย่างพิณ แคน โหวต มาบรรเลงจ่ายผญาโต้ตอบกันเนื่องจากอีสานมีชนอยู่หลายกลุ่มวัฒนธรรม

วัฒนธรรมเกี่ยวกับประเพณี พิธีกรรมและความเชื่อ


 
ประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นประเพณีที่ชาวอีสานจัดขึ้นในเดือน 6 เรียกกันว่า "บุญเดือนหก" มีจุดมุ่งหมายเพื่อ เป็นงานรื่นเริงครั้งใหญ่ก่อนการเริ่มทำนา และเป็นการสร้างกำลังใจว่าการทำนาในปีนั้นจะได้ผลดี โดยมี ความเชื่อว่าเทวดาคือ "พระยาแถน" สามารถบัลดาลให้พืชผลในท้องนาอุดมสมบูรณ์ หากบูชาเซ่นสรวงให้ พระยาแถนพอใจก็จะช่วยให้ฝนตกตามฤดูกาล การทำนาได้ผลธัญญาหารบริบูรณ์ โดยเฉพาะถ้าหมู่บ้านใคร ทำบุญบั้งไฟติดต่อกันทุก 3 ปี

     ประเพณีบุญบั้งไฟตามตำนานเล่าว่า เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าถือชาติกำเนิดเป็นพญาคางคกได้อาศัยอยู่ใต้ ร่มโพธิ์ใหญ่ในเมืองพันทุมวดี ด้วยเหตุใดไม่แจ้ง พญาแถนเทพเจ้าแห่งฝนโกรธเคืองโลกมนุษย์มากจึง แกล้งไม่ให้ฝนตกนานถึง 7 เดือน ทำให้เกิดความลำบากยากแค้นอย่างแสนสาหัสแก่มวลมนุษย์ สัตว์และ พืช จนกระทั่งพากันล้มตายเป็นจำนวนมากพวกที่แข็งแรงก็รอดตายและได้พากันมารวมกลุ่มใต้ต้นโพธิ์ใหญ่ กับพญาคางคก สรรพสัตว์ทั้งหลายจึงได้หารือกันเพื่อจะหาวิธีการปราบพญาแถนที่ประชุมได้ตกลงกันให้ พญานาคยกทัพไปรบกับพญาแถน แต่ก็ต้องพ่ายแพ้จากนั้นจึงให้พญาต่อแตนยกทัพไปปราบแต่ก็ต้องพ่าย แพ้อีกเช่นกัน ทำให้พวกสรรพสัตว์ทั้งหลายเกิดความท้อถอย หมดกำลังใจและสิ้นหวัง ได้แต่รอวันตาย

    ในที่สุด พญาคางคกจึงขออาสาที่จะไปรบกับพญาแถน จึงได้วางแผนในการรบโดยปลวกทั้งหลายก่อ จอมปลวกขึ้นไปจนถึงเมืองพญาแถน เพื่อเป็นเส้นทางให้บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายได้เดินทางไปสู่เมือง พญาแถน ซึ่งมีมอด แมลงป่อง ตะขาบ สำหรับมอดได้รับหน้าที่ให้ทำการกัดเจาะ ด้ามอาวุธที่ทำด้วยไม้ทุก ชนิด ส่วนแมลงป่องและตะขาบให้ซ่อนตัวอยู่ตามกองฟืนที่ใช้หุงต้มอาหาร และอยู่ตามเสื้อผ้าของไพร่พล พญาแถนทำหน้าที่กัดต่อย หลังจากวางแผนเรียบร้อย กองทัพพญาคางคกก็เดินทางเพื่อปฏิบัติหน้าที่การ รบ มอดทำหน้าที่กัดเจาะด้ามอาวุธ แมลงป่องและตะขาบกัดต่อยไพร่พลของพญาแถนจนเจ็บปวด ร้องระงมจนกองทัพระส่ำระสาย ในที่สุดพญาแถนจึงได้ยอมแพ้และตกลงทำสัญญาสงบศึกกับพญาคางคก ดังนี้

1.             ถ้ามวลมนุษย์จุดบั้งไฟขึ้นสู่ท้องฟ้าเมื่อใด ให้พญาแถนสั่งให้ฝนตกในโลกมนุษย์

2.             ถ้าได้ยินเสียงกบ เขียดร้อง ให้รับรู้ว่าฝนได้ตกลงมาแล้ว

3.             ถ้าได้ยินเสียงสนู (เสียงธนูหวายของว่าว) หรือเสียงโหวด ให้ฝนหยุดตก เพราะจะเข้าสู่ฤดูเก็บเกี่ยว ข้าว หลังจากที่ได้สัญญากันแล้ว พญาแถนจึงได้ถูกปล่อยตัวไปและได้ปฏิบัติตามสัญญามาจนบัดนี้

     ในการทำบั้งไฟนั้นชาวบ้านทั้งในหมู่บ้านเดียวกันและหมู่บ้านใกล้เคียง จะมารวมกันแล้วแบ่งเป็นกลุ่มๆ ละ 5-10 ครัวเรือน ทำบั้งไฟ 1 กระบอก บั้งไฟ คือกระบอกไม้ไผ่บรรจุดินปืน สำหรับจุดให้ติดไฟพุ่งขึ้นไป บนท้องฟ้า ชาวบ้านจะตกแต่งบั้งไฟให้สวยงามด้วยการแกะรูปลายเป็นรูปลายไทย หรือสุพรรณหงส์ หรือนำ ผ้าไหมมาทอลายต่างๆ มาประดับในงานบุญบั้งไฟ ในพิธีต่างๆ เช่น วันแรกของงานแรกว่า "วันโฮม" หรือวัน รวมชาวบ้านจะมาทำบุญที่วัด มีการแห่และประกวดบั้งไฟ วันที่สองแรกวันจุดหรือวันจุดบั้งไฟ โดยแห่บั้งไฟ ออกไปกลางทุ่งนา วางบั้งไฟไว้บนกิ่งไม้ที่ใหญ่และแข็งแรง จากนั้นก็จุดบั้งไฟ ถ้าบั้งไฟของใครจุดติดและ พุ่งขึ้นสูง นายช่างผู้ทำบั้งไฟจะได้รับการรดน้ำจากชาวบ้านเป็นการแสดงความยินดี ถ้าบั้งไฟใครจุดไม่ติด หรือพุ่งไม่สูง นายช่างก็จะถูกจับโยนลงในน้ำขุ่นที่มีโคลนเลน หลังจากเทศกาลบุญบั้งไฟผ่านไปแล้วชาว บ้านก็จะเริ่มลงมือทำนา ประเพณีบุญบั้งไฟที่มีชื่อเสียงมาก คือที่จังหวัดยโสธร

วัฒนธรรมเกี่ยวกับประเพณี พิธีกรรมและความเชื่อ

ประเพณีผีตาโขน  การละเล่นผีตาโขนมีมานานแล้ว แต่ไม่มีหลักฐานปรากฎแน่ชัดว่ามีมาตั้งแต่เมื่อใด แต่ ชาวบ้านมีความเชื่อว่าการแห่ผีตาโขนเกิดขึ้นเมื่อครั้งที่พระเวสสันดรและนางมัทรี กำลังจะออกจากป่ากลับ สู่เมือง บรรดาผีป่าและสัตว์นานาชนิด มีความอาลัยจึงแฝงตนมากับชาวบ้าน เพื่อมาส่งพระเวสสันดร และ นางมัทรีกลับเมือง ซึ่งเรียกกันว่า "ผีตามคน หรือผีตาโขน" ช่วงเวลาการละเล่น คือช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ของทุกปี

พิธีกรรม 

     เนื่องจากงานประเพณีผีตาโขน เป็นงานบุญใหญ่ซึ่งเรียกกันว่า"งานบุญหลวง" จัดขึ้นที่วัดโพนชัย อ.ด่านซ้าย โดยมีการละเล่นผี ตาโขน มีการเทศน์มหาชาติ มีการทำบุญพระธาตุศรีสองรัก และงาน บุญต่างๆ เข้า มาผสมอยู่รวมๆ กัน จึงมีการจัดงานกัน 3 วัน

วันแรก  เริ่มพิธีตอนเช้า 04.00-05.00 น. คณะแสนหรือข้าทาส บริวารของเจ้าพ่อกวนจะนำอุปกรณ์ มีด ดาบ หอก ฉัตร พานดอกไม้ ธูปเทียน ขันห้าขันแปด (พานดอกไม้ 5 คู่ หรือ 8 คู่) ถือเดินนำ ขบวนไปที่ริมแม่น้ำหมัน เพื่อนิมนต์พระอุปคุตต์ พระผู้มีฤทธานุภาพมาก และมักเนรมิตกายอยู่ในมหาสมุทร เพื่อป้องกันภัยอันตราย และให้เกิดความสุขสวัสดี เมื่อถึงแล้วผู้อัญเชิญต้องกล่าวพระคาถา และให้อีกคนลงไปในน้ำ งมก้อนหินใต้น้ำขึ้นมาถามว่า “ใช่พระอุปคุตต์หรือไม่” ผู้ที่ยืนอยู่บนฝั่งตอบว่า “ไม่ใช่” พอก้อนหิน ก้อนที่ 3 ให้ตอบว่า “ใช่ นั่นแหละพระอุปคุตต์ที่แท้จริง” เมื่อได้พระอุปคุตต์มาแล้ว ก็นำใส่พานแล้วนำขบวนกลับที่หอพระอุปคุตต์ ทำการทักขิณาวัฏ 3 รอบ มีการยิงปืนและจุดประทัด ซึ่งช่วงเวลานั้นบรรดาผีตาโขนที่นอนหลับหรืออยู่ตามที่ต่างๆ ก็จะมาร่วมขบวนด้วยความยินดีปรีดา เต้นรำเข้าจังหวะกับเสียงหมากกระแหล่ง ซึ่งเป็นกระดิ่งผูกคอวัว หรือกระดิ่งให้ดังเสียงดัง

วันที่สอง  เป็นพิธีแห่พระเวส ในขบวนประกอบด้วย พระพุทธรูป 1 องค์ พระสงฆ์ 4 รูป นั่งบนแคร่หามตาม ด้วยเจ้าพ่อกวนนั่งอยู่บนกระบอกบั้งไฟ ท้ายขบวนเป็นเจ้าแม่นางเทียม กับบริวาร ชาวบ้านและเหล่าผีตา โขนเดินตามเสด็จไปรอบเมือง ก่อนตะวันตกดิน สำหรับคนที่เล่นเป็นผีตาโขนใหญ่ ต้องถอดเครื่องแต่งกาย ผีตาโขนใหญ่ออกให้หมด และนำไปทิ้งในแม่น้ำหมัน ห้ามนำเข้าบ้าน เป็นการทิ้งความทุกข์ยาก และสิ่งเลว ร้ายไป รอจนปีหน้าฟ้าใหม่แล้วค่อยทำเล่นกันใหม่

วันที่สาม  เป็นการรวมเอางานบุญประเพณีประจำเดือนต่างๆ ของปี มารวมกันจัดในงานบุญหลวง ประชาชน จะมานั่งฟังเทศน์มหาชาติ 13 กัณฑ์ ที่วัดโพนชัย เพื่อเป็นการสร้างกุศลและเป็นมงคลแก่ชีวิต

งานประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน ถือเป็นงานที่แสดงออกถึงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านอันดี งาม ที่เป็นเอกลักษณ์ของอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย

ผีตาโขนจะแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

1.             ผีตาโขนใหญ่

2.             ผีตาโขนเล็ก

ผีตาโขนใหญ่  จะสานมาจากไม้ไผ่ มีขนาดใหญ่กว่าคนประมาณ 2 เท่า แล้วจะประดับตกแต่งหน้าตาด้วยเศษวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น ใน การทำผีตาโขนใหญ่ในแต่ละปีจะทำ 2 ตัว คือ ชาย 1 ตัว และหญิง อีก 1 ตัวเท่านั้น ผู้ที่มีหน้าที่ทำผีตาโขนใหญ่ จะต้องได้รับอนุญาต จากผีหรือเจ้าก่อน และเมือได้รับอนุญาตแล้ว ต้องทำผีตาโขนใหญ่ ทุกๆ ปี หรือต้องทำติดต่อกันอย่างน้อย 3 ปี เพราะว่าคนที่ไม่ได้รับ อนุญาตก็จะไม่มีสิทธิ์ทำผีตาโขนใหญ่ เวลาแห่จะต้องมีคนเข้าไปอยู่ในตัวหุ่น

ผีตาโขนเล็ก  ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ก็มีสิทธิ์ทำผีตาโขนเล็ก เพื่อเข้าร่วมสนุกสนานกันได้ทุกคน การเล่นของผีตาโขนเล็กค่อน ข้างผาดโผน ผู้หญิงจึงไม่ค่อยนิยมเข้าร่วม การแต่งกายของผู้ที่เข้า ร่วมในพิธีแห่ผีตาโขน จะแต่งกายคล้ายกันกับผี ปีศาจ ที่สวมศีรษะ ด้วยที่นึ่งข้าวเหนียว หรือที่เรียกว่า "กระติ๊บข้าวเหนียว" นั่นเอง และ ใส่หน้ากากที่ทำด้วยกาบมะพร้าวแกะสลัก มีการละเล่นร้องรำทำ เพลงกันอย่างสนุกสนานในขบวนแห่

     การละเล่นผีตาโขน นับว่าเป็นสิ่งที่แปลกสำหรับผู้พบเห็น มีการ นำเอาก้านทางมะพร้าวที่แห้ง นำมาตกแต่งเป็นหน้ากาก โดยการ เจาะช่องตา จมูก ปาก และใบหู นำเอาหวดนึ่งข้าว โดยกดดันหวด ให้เป็นรอยบุ๋มหงายปากหวดขึ้น เพื่อสวมศีรษะแต่งแต้มสีสันให้น่าดู ส่วนชุดที่สวมใส่ทำมาจากเศษผ้าหลากหลายสีมาเย็บต่อกัน

    อุปกรณ์ในการละเล่นมี 2 ชิ้น คือ "หมากกระแหล่ง" มีไว้เพื่อเขย่า ทำให้เกิดเสียงดังในเวลาเดิน และ "อาวุธประจำกาย" ผีตาโขนส่วน มากจะใช้ผู้ชายแสดง เนื่องจากต้องกระโดดโลดเต้นไปเรื่อยๆ จึงไม่ เหมาะที่จะใช้ผู้หญิงเป็นตัวแสดง นอกจากเข้าร่วมในงาน "บุญ หลวง" ยังได้เข้าร่วมขบวนแห่ในวันเปิดงานกาชาดดอกฝ้ายบาน มะขามหวานเมืองเลย โดยขบวนผีตาโขนจะเดินรอบเมือง เพื่อโชว์ให้แขกบ้านแขกเมืองได้เห็น

วัฒนธรรมภาคกลาง

            บริเวณภาคกลางส่วนใหญ่เป็นที่ราบ ที่เกิดจาก การทับถมดินตะกอนของแม่น้ำ การตั้งถิ่นฐานของ ผู้จะอยู่บริเวณน้ำ เช่น การพายเรือสินค้าจนกลาย เป็นตลาดน้ำ การเล่นเพลง หรือการอาศัยอยู่บน เรือนแพ เป็นต้น

วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัย

    บ้านทรงไทยนับว่าเป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทย ที่ได้คิดสร้างที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และประโยชน์ใช้สอย คือ เป็นเรือนยกพื้นสูง เพื่อป้องกันน้ำท่วมตัวเรือน เพราะในปลายฤดู ฝนจะมีน้ำป่าไหลหลากจากทางเหนือ มาท่วมพื้นที่ลุ่มในภาคกลาง หากมีลมพายุก็สามารถพัดผ่านใต้ถุน เรือนไปได้ ใต้ถุนเรือน สามารถใช้เป็นสถานที่ทอผ้า ตำข้าว เก็บของ ส่วนหลังคาที่สูงและลาดชันก็เหมาะ กับสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว และมีฝนตกชุกของภาคกลาง เพราะทำให้อากาศร้อนจากภายนอกถ่ายเทมา ยังห้องได้ช้า และทำให้ฝนไหลลงอย่างรวดเร็ว รอบตัวเรือนมีชายคายื่นยาว เพื่อป้องกันกันฝนสาด และ แสงแดด การสร้างบ้านยังคำนึงเรื่องทิศทางของการระบายลม และระบายความร้อน โดยลมประจำที่พัดผ่าน เรียกว่า ลมว่าว หรือลมตะเภา พัดจากทิศใต้ไปทิศเหนือ การวางตัวเรือนจึงต้องหันทางทิศใต้ หรือทิศเหนือ เพื่อให้ลมพัดผ่าน

   เอกลักษณ์อีกอย่างของเรือนไทย คือมีชานบ้านซึ่งเป็นที่โล่งกลางบ้าน ซึ่งมีประโยชน์ เช่น เป็นที่พัก หย่อนใจของคนในครอบครัว นั่งทำงาน รับรองแขก และการอยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ เมื่อลูกหลานแต่ง งาน และต้องการขยายพื้นที่ของเรือน ก็สามารถสร้างเรือนเชื่อมต่อกันได้ โดยใช้ชานบ้านเป็นตัวเชื่อมด้วย ประโยชน์ใช้สอยที่เหมาะกับสภาพภูมิศาสตร์ และสภาพชีวิตที่เป็นสังคมเกษตร ทำให้เรือนไทยเป็นเอก ลักษณ์หนึ่งของวัฒนธรรมการดำรงชีวิตในภาคกลาง

บ้านเรือนไทย หรือเรือนไทย เรือนไทยภาคกลางจะสร้างด้วยไม้ แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

1.             เรือนเครื่องสับ เป็นเรือนที่ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง



2.             เรือนไม้ผูก เป็นเรือนที่ทำด้วยไม้ไผ่เป็นส่วนใหญ่ เอกลักษณ์ของคนไทย คือ ยกพื้นสูง มีใต้ถุนเรือน หลังคาหน้าจั่วทรงสูง สร้างโดยไม่ใช้ตะปู แต่จะนำจำนวนต่างๆ ของเรือนมาประกอบกัน เรียกว่าการเข้าไม้ ทำให้สะดวกต่อการย้ายบ้าน



    ลักษณะของเรือนไทยภาคกลางเป็นเรือนยกใต้ถุนสูง สูงจากพื้นดินประมาณพ้นศีรษะ รวมทั้งระเบียงและ ชานก็ยกสูงด้วย การยกใต้ถุนสูงนี้มีระดับลดหลั่นกัน พื้นระเบียงลดจากพื้นห้องนอน 40เซนติเมตร พื้นชาน ลดจากระเบียงอีก 40 เซนติเมตร และปิดด้วยไม้ระแนงตีเว้นช่องโปร่ง การลดระดับ พื้นทำให้ได้ประโยชน์ ดังนี้ คือช่วยให้ลมพัดผ่านจากใต้ถุนขึ้นมา ข้างบนสามารถมองลงมายังใต้ถุนชั้นล่างได้ และใช้ระดับลด 40 เซนติเมตร ไว้เป็นที่นั่งห้อยเท้า



    หลังคาทรงจั่วสูงชายคายื่นยาว หลังคาของเรือนไทยเป็นแบบทรงมนิลา ใช้ไม้ทำโครงและใช้จากแฝก หรือกระเบื้องดินเผาเป็นวัสดุมุงหลังคา วัสดุเหล่านี้ต้องใช้วิธีมุงตามระดับองศาที่สูงชันมาก น้ำฝนจึงจะ ไหลได้เร็ว ไม่รั่ว การทำหลังคาทรงสูงนี้ มีผลช่วยบรรเทาความร้อนที่จะถ่ายเทลงมายังส่วนล่าง ทำให้ที่พัก อาศัยหลับนอนเย็นสบาย สำหรับเรือนครัวทั่วไปตรงส่วนของหน้าจั่วทั้ง 2 ด้าน ทำช่องระบายอากาศโดยใช้ ไม้ตีเว้นช่อง หรือทำเป็นรูปรัศมีพระอาทิตย์ เพื่อถ่ายเทควันไฟออกจากเรือนครัวได้สะดวก เนื่องจากสภาพ ดินฟ้าอากาศของภาคกลาง แดดแรงจัด อุณหภูมิบางเดือนสูงถึง 39.9 องศาเซลเซียส ฝนชุก จึงจำเป็น ต้องต่อเติมกันสาดให้ยื่นออกจากตัวเรือนมาก เพื่อกันแดดส่องและฝนสาด

 วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัย



ชานกว้าง เมื่อมองดูแปลนของเรือนไทยทั่วไป จะเห็นพื้นที่ของชานกว้างมาก ที่มีปริมาณถึงร้อยละ 40ของพื้นที่ทั้งหมด (ห้องระเบียงชาน) ถ้ารวมพื้นที่ของระเบียงเข้าไปด้วย จะมีปริมาณถึงร้อยละ 60 พื้นที่นี้ เป็นส่วนอาศัยภายนอก ส่วนที่อาศัยหลับนอนมีฝากั้นเป็นห้อง มีเนื้อที่เพียงร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมด สาเหตุที่พื้นที่อยู่อาศัยภายนอกมีปริมาณมาก เพราะดินฟ้าอากาศร้อนอบอ้าวนั่นเอง



เรือนครอบครัวขยาย โดยที่สรุปแล้วแผนผังของเรือนครอบครัวขยายมี 3 แบบ คือ

1.             จะปลูกเรียงเป็นแถวไปตามยาวต่อจากเรือนของพ่อแม่

2.             จะจัดวางตัวเรือนเป็นกลุ่ม ที่มีชานเชื่อมตรงกลาง ชานที่เชื่อมนี้เปิดโล่งไม่มีหลังคาคลุม

3.             ปลูกเรือนขึ้นใหม่อยู่ในบริเวณใกล้ๆ เป็นหลังๆ ที่ไม่มีชานเชื่อม



เรือนคหบดี   เป็นเรือนของผู้ที่มีฐานะ เจ้าของตั้งใจสร้างขึ้นให้มีขนาดใหญ่โต หรูหรา เห็นได้ชัดเจนจาก การวางผัง

เรือนร้านค้าริมน้ำ เป็นเรือนที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นร้านค้าขาย รวมทั้งกินอยู่หลับ นอน ฉะนั้นประโยชน์ใช้สอยจึงต่างกับเรือนพักอาศัยทั่วไป เรือนแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนหน้าเปิดเป็นร้านค้ามีที่สำหรับวางสินค้า ส่วนหลังเป็นที่อยู่อาศัย

เรือนร้านค้าริมทาง เรือนร้านค้าริมทางเป็นเรือนที่สร้างขึ้น เพื่อประโยชน์ ทางการค้า และใช้พักอาศัยไปในตัว มีจุดมุ่งหมายเช่นเดียวกับเรือนร้านค้าริม น้ำ การขนส่งใช้เกวียนเป็นพาหนะ

เรือนตำหนัก เป็นเรือนสำหรับเชื้อพระวงศ์หรือเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ มีขนาด ใหญ่ หลายช่วงเสา ลักษณะคล้ายกุฏิสงฆ์ ซึ่งนำมารวมกันจำนวน 6-9 ห้อง ฝาลูกปะกน มีสัดส่วนใหญ่โตกว่าเรือนธรรมดา ลบมุมลูกตั้งลูกนอน ด้านหน้า เป็นระเบียง มุมสุดหัวท้ายของระเบียงกั้นเป็นห้องน้ำ ห้องส้วมและห้องเก็บ ของ ระเบียงนี้เรียกว่า "พะไล" ถ้าเจ้าของเรือนเป็นเชื้อพระวงศก็์จะมีช่อฟ้าใบ ระกาประดับปลายหลังคา ด้านหน้าจั่ว

วัฒนธรรมที่สืบเนื่องจากการทำเกษตรกรรม

     คนในภาคกลางมีวัฒนธรรมที่สืบเนื่องจากการทำเกษตรกรรมมากมาย ทั้งวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับคน เช่น การลงแขกทำนา การละเล่นเพลงพื้นบ้าน และวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับศาสนา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามธรรมชาติ เช่น การบูชาแม่โพสพ



ความเชื่อเรื่องแม่โพสพ

     คนไทยมีความเชื่อดั้งเดิมเรื่องผีสางเทวดา ชีวิตประจำวันที่ผูกพันอยู่กับอาชีพชาวนา ชาวนาจึงเชื่อว่าในข้าวมีวิญญาณแม่โพสพ ซึ่งมีบุญคุณต่อชาวนาสิงอยู่ จึงมีการ ปฏิบัติพิธีกรรมเพื่อระลึกถึงแม่โพสพ เช่นการสร้างศาลเพียงตาใน ทุ่งนา เรียกว่า "เรือนแม่โพสพ" มีการทำขวัญข้าวเมื่อข้าวเริ่มออก รวง หรือที่เรียกว่า"ข้าวตั้งท้อง" และนำข้าวอ่อนไปทำบุญถวายพระ ในประเพณีสารทเดือนสิบ ซึ่งมีการกวนข้าวทิพย์หรือข้าวมธุปายาส เมื่อมีการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ก่อนจะนำข้าวเก็บยุ้งฉาง จะมีพิธีบอก กล่าวแม่โพสพ นอกจากนี้ยังมีความเชื่อว่าข้าวเป็นสิ่งที่มีบุญคุณต่อ ชีวิตมนุษย์ จึงได้รับการยกย่องโดยมีคำเรียกช่วงเวลาในสมัยโบราณ เมื่อข้าวตั้งท้องว่า "ตะวันอ้อมข้าว" แสดงให้เห็นความสำคัญของ ข้าวว่า เมื่อตั้งท้องแม้แต่พระอาทิตย์ยังต้องอ้อมข้าว เหมือนที่การ ปฏิบัติกันจนทุกวันนี้ คือ ไม่เหยียบข้าว ไม่ทิ้งข้าว เพราะถือว่าเป็น บาปกรรม

     พิธีกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับข้าว ก็จะเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับความเชื่อเรื่องแม่โพสพ ซึ่งเชื่อว่าเป็นเทพีที่คอยดูแลรักษาพืชพันธุ์ธัญญาหารต่างๆ ให้อุดมสมบูรณ์ แม่โพสพก็เหมือนกับ มนุษย์ที่ต้องการความเอาใจใส่ เหมือนบุคคลทั่วๆ ไป มนุษย์ต้องคอยดูแลแม่โพสพ
เหมือนดูแลตัวเอง ต้องมีความกตัญญู ต้องเคารพนับถือ มีกิริยาที่สุภาพเรียบร้อย จะพูดจาหยาบคายหรือพูดเสียงดังไม่ได้ แม่โพสพเป็นคนขวัญอ่อน เพราะถ้าเกิด ไม่พอใจจะหนีไปเลย และตามประวัติเคยหนีไปหลายครั้ง ด้วยความน้อยใจเวลามี คนพูดเสียงดัง พอหนีไปทีก็อดอยากกันเป็นพันปี เพราะฉะนั้นอันนี้เป็นสิ่งที่ต้อง ระมัดระวังมาก เวลาติดต่อกับแม่โพสพควรใช้ความสุภาพอ่อนโยน และความกตัญ ญูกตเวทีอย่างสูงที่สุด

    พิธีกรรมเกี่ยวกับแม่โพสพก็มีขั้นตอนต่างๆ พิธีในภาคกลางจะเห็นว่า จะดำนาจะ ไถอะไรก็ต้องเชิญแม่โพสพมาก่อน ตั้งแต่ข้าวเริ่มตั้งท้องก็ต้องไปเอาอกเอาใจหา อาหารเปรี้ยวหวานมันเค็มไปบูชาแม่โพสพ หรือว่าเมื่อเสร็จแล้วจะนวดจะเอาข้าวเข้ายุ้ง ทุกอย่างนี้จะต้องมี พิธีกรรมเข้าไปประกอบ เพื่อก่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ หรือความมั่นใจว่าปีนี้มีข้าว และปีหน้าต้องมีนะ หรือว่าพันธุ์ข้าวที่มีต้องเก็บไว้และทำอย่างไรให้เก็บได้ดี ไม่เสียไม่หาย เพื่อที่จะใช้เป็นพันธุ์ในปีต่อไป ลักษณะของพิธีกรรมเรื่องข้าว ส่วนใหญ่ก็จะเกี่ยวข้องกับการที่จะพยายามเอาอกเอาใจขวัญของข้าว โดยมี แม่โพสพเป็นตัวแทน

    การทำพิธีกรรมเกี่ยวกับข้าว นอกจากในสังคมที่เป็นบ้านเป็นเมือง อย่างสังคมไทย แล้วจะเห็นว่าในสังคมอื่นๆ ที่ยังไม่ได้พัฒนาเป็น บ้าน เป็นเมือง การทำไร่ ทำนา ก็มีพิธีกรรมเหมือนกัน ในการที่จะดู แลข้าวของตัวเอง อย่างเช่นในกลุ่มชาวเขาก็มีพิธีกรรมเวลาปลูก ข้าวไร่ เขาจะมีวันไหนที่จะไปเผาไร่ได้ วันไหนเผาไม่ได้ เวลาข้าว ตั้งท้อง ต้องรู้ว่าจะทำอย่างไร เขาถือว่าช่วงข้าวตั้งท้อง หรือช่วงข้าว
เกี้ยวพาราสี เขาจะบอกว่าห้ามไปไร่ในช่วงนั้น เพราะว่าข้าวกำลัง เกี้ยวพาราสีกัน หรือเวลาข้าวตั้งท้อง ก็จะต้องหาเงินไปผูกเอาไว้ ต้องผูกเตี้ยๆ ด้วย เพราะว่าแม่ข้าวเขาตัวเตี้ย จะได้เก็บเงินไปได้ ถ้า เกิดไม่เอาเงินหรือเอากระดาษไป ผูกเป็นรูปเงินให้แล้วอาจจะไม่ดลบันดาลให้ข้าวอุดมสมบูรณ์ก็ได้ ฉะนั้น ในกลุ่มทุกกลุ่ม หรือแม้แต่พวกขิ่นก็มีความเชื่อเรื่องการปลูกข้าวเหมือนกัน ก่อนการปลูกข้าวก็มีการสร้างตูบ ผีเอาไว้เชิญผี ซึ่งเคยอยู่ที่ท้องนาขึ้นมาอยู่บนตูบ เวลาจะไถจะได้ไม่รังควานผี มีการเซ่นไหว้ เวลาจะหยอด ข้าวก็ต้องเรี่ยไรเงินมาซื้อหมู ฆ่าหมูมาเซ่นผี มาเอาใจผีอีก เพราะว่าถ้าผีไม่พอใจ ปลูกข้าวแล้วจะมีผลเสีย หรือถ้าหากว่าจะทำสู่ขวัญข้าวก็ต้องทำพิธีเลี้ยงผีอีก ก็ต้องไปซื้อสัตว์เรี่ยไรกันเอาเงินมาฆ่า เอาสัตว์มา สังเวยและจะปิดตาเหลวเอาไว้

    "ตาเหลว" เป็นสัญลักษณ์ของการป้องกันและบอกขอบเขตไม่ให้สัตว์ ป่าต่างๆ มาทำลายข้าวในไร่ จะเห็นว่ามีกฎหมายลงโทษคนที่ไปทำมิดี มิร้าย ไปขี้ไปเยี่ยว ช้าง ม้า วัว ควาย ไปละเมิดทำให้ไร่นาข้าวปลาเสีย หาย มีกฎหมายบัญญัติไว้ว่าให้ทำบัตรพลีดีไหว้ หรือว่าต้องเซ่นไหว้ เพราะไม่ใช่เพียงแต่ว่าเป็นการลงโทษ คนที่ละเมิดทำข้าวเสียหายเท่า นั้น แต่ว่าเป็นลักษณะของความอุบาทว์หรือสิ่งที่ทางเหนือ อาจเรียกว่า"ขึด" คือถ้าเผื่อว่าทำแล้ว มันเสียหายแก่ท้องนาแก่ข้าว แล้วไม่ใช่เพียง แต่ว่าคนคนนั้นหรือเจ้าของนาจะเดือดร้อน แต่ว่าจะก่อให้เกิดความ อุบาทว์ หรือวิปริตไปทั้งหมดได้ เพราะฉะนั้นเพื่อกันความเสียหายของ ชุมชน จะต้องทำการบัตรพลีดีไหว้ อันนี้เป็นกฎหมายตราไว้เลย

 วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหาร

   ภาคกลางเป็นภูมิภาคที่มีดินและน้ำอุดมสมบูรณ์ จึงเป็นแหล่งปลูก ข้าวที่สำคัญของประเทศ และมีอาหารการกินที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งพืช ผักและสัตว์ต่างๆ คนภาคกลางนิยมรับประทานข้าวเจ้าเป็นอาหาร หลักในอดีต คนภาคกลางนิยมใช้ใบบัวห่อข้าวนำไปรับประทานเวลา ออกไปทำงานในนา หรือการเดินทางเรียกกันว่า"ข้าวห่อใบบัว" กับ ข้าวที่นิยมมีเกือบทุกมื้ออาหาร คือ น้ำพริกประเภทต่างๆ เช่น น้ำพริก เผา น้ำพริกกะปิ น้ำพริกปลาย่าง รับประทานกับผักนานาชนิดที่หา ได้ในท้องถิ่นและนิยมปรุงรสอาหารด้วยน้ำ ปลาเช่นเดียวกับคนภาค อีสานที่นิยมใช้น้ำปลาร้าปรุงอาหาร

     คนไทยภาคกลางบริโภคข้าวเจ้าเป็นหลัก การรับประทานอาหาร ในแต่ละมื้อจะจัดเป็นสำรับ มีกับข้าวหลายอย่าง รสชาดอาหารภาค กลางมีการผสมผสานของหลากหลายรสชาติ ทั้งรสเปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด เอกลักษณ์ของรสชาติอาหาร ไม่ได้เกิดจากเครื่องปรุง เพียงอย่างเดียว เช่น รสเปรี้ยวที่ใช้ปรุงอาหาร อาจได้ทั้งจากมะนาว มะขาม มะกรูด ตะลิงปลิง ส้มแขก ผล ไม้บางชนิด เช่น มะดัน มะม่วง เป็นต้น การใช้เครื่องปรุงรสเปรี้ยวที่แตกต่างกัน จึงทำให้เกิดความ หลากหลายใช้ชนิดของอาหารไทยภาคกลาง เช่น ต้มยำ ใช้มะนาว เพื่อให้รสเปรี้ยว แต่ต้มโคล้ง ใช้น้ำมะขามเปียก เพื่อให้รส เปรี้ยวแทน

     นอกจากนั้นยังมีรสเค็ม ที่ได้จากน้ำปลา กะปิ รสขม ที่ได้จากพืช ชนิดต่างๆ เช่น มะระ เป็นต้น และ ความเผ็ด ที่ได้จากพริก พริกไทย และเครื่องเทศ อาหารภาคกลางเป็น อาหารที่มีครบทุกรส ซึ่งอาหารไทยที่ชาวต่างชาติส่วนใหญ่รู้จัก และนิยมบริโภคล้วนแต่เป็นอาหารภาค กลางทั้งนั้นไมว่าจะเป็น ต้มยำกุ้ง แกงเขียวหวานผัดไทย พะแนง เป็นต้น จึงทำให้อาหารภาคกลางมีความ โดดเด่นเป็นพิเศษมากกว่าอาหารภาคอื่น

วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับเพลงพื้นบ้าน

     เป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตเกษตรกรรม เพราะการสร้างสรรค์เพลงพื้นบ้าน เช่น เพลงเกี่ยวข้าว เพลงอีแซว เพลงฉ่อย เพลงเหย่ย ขึ้นมานั้นเป็นสิ่งที่ชาวบ้านคิดขึ้น เพื่อเป็นเครื่องผ่อนคลายจาการทำ งานหนัก ทำให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน เกิดความสามัคคีในหมู่บ้านเดียวกัน และเป็นการเปิด โอกาสให้หนุ่มสาวได้รู้จัก พบปะพูดคุยกันโดยในสายตาของผู้ใหญ่ ในปัจจุบันสภาพสังคมและลักษณะการ ดำรงชีวิตที่เปลี่ยนไป ทำให้เพลงพื้นบ้านถูกละเลย และเกือบจะสูญหายไปหมดแล้ว



เพลงพื้นบ้าน

    เป็นร้อยกรองที่นำมาจัดจังหวะของคำ และใส่ทำนองเพื่อขับร้องในท้องถิ่นสืบทอดต่อกันมาด้วยวิธีจดจำ ที่มาของเพลงพื้นบ้าน เกิดจากนิสัยชอบบทกลอน หรือที่เรียกว่า “ความเป็นเจ้าบทเจ้ากลอน” ของคนไทย ในท้องถิ่นต่างๆ ที่เรียงร้อยถ้อยคำมีสัมผัสคล้องจอง และประดิษฐ์ทำนองที่ร้องง่ายแล้วนำมาร้องเล่นในยาม ว่าง หรือระหว่างทำงานร่วมกัน เช่น ลงแขกเกี่ยวข้าว นวดข้าว เพื่อผ่อนคลายความเหน็ดเหนื่อยจากการทำ งาน เพื่อความสนุกสนาน และเพื่อความสามัคคีในกลุ่มชน การใช้ถ้อยคำในเพลงพื้นบ้านนั้นมีลักษณะตรง ไปตรงมา นิยมใช้ภาษาพูดมากกว่าภาษาเขียน บางครั้งก็แฝงนัยให้คิดในเชิงสองแง่สองง่าม บางเพลงก็ ร้องซ้ำไปมาชวนให้ขับขัน

คุณค่าของเพลงพื้นบ้าน

     เพลงพื้นเมืองเป็นมรดกทางวรรณกรรม ชาวบ้านนิรนามได้แต่งเพลงของเขาขึ้น บทเพลงนี้อาจจะมา จากความเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน และความอยู่ไม่สุขของปาก แต่บังเอิญหรือบางทีไม่ใช่บังเอิญ เพลงของ เขาไพเราะและกินใจชาวบ้านคนอื่นๆ ด้วย ดังนั้นเพลงดังกล่าวจึงได้แพร่กระจายออกไปเรื่อยๆ และในที่สุด ไม่มีใครรู้ว่าใครเป็นคนแต่งเพลงบทนั้น และแต่งเมื่อใด

 วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับประเพณีและพิธีกรรม

ประเพณีรับบัว เป็นประเพณีของชาวอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ จัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน11 ของทุกปี ในเทศกาลออกพรรษา ตำนานของประเพณี รับบัวตำนานหนึ่งเล่าว่า ในสมัยก่อนนั้นอำเภอบางพลี เป็นแหล่งที่มีดอกบัวหลวงมาก เมื่อถึงช่วงออกพรรษา ชาวบ้านที่อยู่ใกล้อำเภอบางพลี โดยเฉพาะที่อำเภอ เมือง และอำเภอพระประแดง จะเดินทางไปเก็บดอกบัว ที่อำเภอบางพลี เพื่อนำมาประกอบพิธีทำบุญในวันออกพรรษา ต่อมาชาวบางพลีเป็นผู้เก็บดอกบัวไว้แจกให้ ชาวบ้านต่างถิ่น เพื่อเป็นการทำบุญร่วมกัน

     รุ่งเช้าของวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ชาวบ้านต่างถิ่น จะพายเรือไปรับดอกบัวจากชาวบางพลี เพื่อนำดอกบัวไปนมัสการหลวงพ่อโต ที่วัดบางพลีใหญ่ ในการให้ และรับดอกบัวกระทำกันอย่างสุภาพ รับส่งกันมือต่อมือ ผู้ให้จะอธิฐานก่อน ส่วนผู้รับก็จะพนมมือไหว้ขอบคุณ แต่ถ้าเป็นผู้สนิทสนมกัน ก็อาจโดยดอกบัวให้โดยไม่มีพิธีรีตอง เมื่อเวลาผ่านไปการโยนดอกบัวให้กัน ก็ กลายเป็นความนิยมแทนการรับส่งมือต่อมือ จนชื่อประเพณีถูกเรียกว่า "โยนบัว" แทน "รับบัว เมื่อรับดอก บัวแล้วชาวบ้านต่างถิ่นก็พายเรือกลับ โดยมีการพายแข่งกัน จนต่อมาจัดเป็นการแข่งขันด้วย

เมื่อสภาพการดำรงชีวิตเปลี่ยนไป มีโรงงานอุตสาหกรรม มีบ้านจัดสรรเกิดขึ้นที่อำเภอบางพลีมากขึ้น แหล่งน้ำที่มีดอกบัวน้อยลง หน่ายงานราชการจึงคิดจัดงานรับบัวขึ้นมา เพื่ออนุรักษ์ประเพณีไว้ โดยจัดให้มี การประกวดเรือสวยงาม และนำไม้ไผ่มาสานเป็นโครงรูปองค์พระพุทธรูป ปิดด้วยกระดาษสีทอง สมมุติว่า เป็นหลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน นำมาตั้งบนเรือแห่ไปตามลำคลองสำโรง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทร ปราการ ชาวบ้านที่อยู่ริมฝั่งคลองและชาวบ้านที่นำเรือมาจอดอยู่ริมคลอง จะนำดอกบัวโยนถวายหลวงพ่อ โต ซึ่งปฏิบัติต่อกันมาจนกลายเป็นประเพณีโยนบัวที่แตกต่างจากประเพณีรับบัวแต่เดิม

 ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง

   เป็นประเพณีถวายเภสัช หรือยาแด่พระสงฆ์ โดย ทำในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 พุทธศาสนิกชนจะ นำอาหารและข้าวต้มมัด หรือข้าวต้มลูกโยนไปทำ บุญที่วัด และจะมีของทำบุญพิเศษ คือน้ำผึ้งชนิด บริสุทธิ์ พร้อมทั้งน้ำตาลทรายและผ้าแดงผืนเล็กๆ การตักบาตรน้ำผึ้ง เป็นประเพณีที่นิยมในหมู่คน ไทยเชื้อสายมอญ ผู้มาทำบุญจะน้ำผึ้งใส่ในบาตร เปล่าที่ตั้งอยู่หน้าพระสงฆ์ สามเณร หรือบริเวณที่ เหมาะสม จำนวนบาตรส่วนมากตั้งไว้ 32 ใบ โดย ถือเคล็ดตามอาการของมนุษย์ปกติ ที่เรียกกันว่า ครบ 32 ชาวบ้านจะนำน้ำผึ้งเทลงบาตร มากน้อย ตามแต่ศรัทธาและกำลังทรัพย์ ใส่น้ำตาลทรายลง ในฝาบาตรที่ตั้งอยู่ข้างบาตรน้ำผึ้ง และวางผ้าแดงไว้หลังบาตร

     การตักบาตรน้ำผึ้ง เป็นประเพณีที่สืบเนื่องจากความศรัทธาในพระพุทธศาสนา โดยปรากฏอยู่ในชาดก หลายเรื่อง เช่น ชาวบ้านมีความศรัทธานำน้ำผึ้งถวายพระพุทธเจ้า เรื่อง พญาวานรนำรวงผึ้งถวายแด่พระ พุทธเจ้า เมื่อเสด็จจำพรรษาอยู่ ณ ป่ารักขิตวัน เรื่อง พระสงฆ์เกิดอาพาธจากการถูกน้ำฝน จนร่างกายซูบ ผอม พระพุทธเจ้าจึงทรงพุทธานุญาตให้พระสงฆ์ฉันน้ำผึ้ง น้ำอ้อย เนยข้น เนยใส และน้ำมันพืชได้ในยาม วิกาล เพื่อบำรุงร่างกาย เพราะถือว่าทั้งห้าสิ่งนี้เป็นยา จึงมีการถวายน้ำผึ้งเป็นเภสัชทานแด่พระสงฆ์สืบมา
ที่มา : http://witsanu1541.blogspot.com/


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น