หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559

สัตว์ในวรรณคดีไทย

นายช่วง   สเลลานนท์ ประพันธ์หนังสือ ศิลปไทยในปีพ.ศ. 2494 และได้มีการกล่าวถึงสัตว์หิมพานต์ ท่านได้จำแนกสัตว์หิมพานต์เป็น 3 ประเภทคือ สัตว์ทวิบาท (สองขา) สัตว์จตุบาท (สี่ขา) และ ประเภทปลา
            ในเวปไซต์นี้ เราได้เปลี่ยนวิธีการจำแนกสัตว์หิมพานต์ ตามคงามคล้ายคลึงทางสรีระภาพของสัตว์ เพื่อให้ผู้อ่านจดจำได้ง่ายขึ้น
            เราได้จำแนกสัตว์หิมพานต์เป็น 15 ประเภทดังนี้ 
1.  สัตว์ประเภทกิเลน
 
              กิเลนเป็นสัตว์หิมพานต์ที่ได้รับมาจาก ประเทศจีน เช่นเดียวกับสัตว์หลายชนิดในจีน
กิเลนตัวผู้กับตัวเมีย มีชื่อเรียก ไม่เหมือนกัน ตัวผู้มีชื่อเรียกว่า "กิ" ส่วนตัวเมียเรียกว่า "เลน" โดยทั่วไปเรียกโดยรวมว่า กิเลน
            ในตำนานจีน กิเลนมีหัวเป็นมังกร มีเขาเดียว (เขาแบบกวาง) มีร่างกายแบบกวาง แต่ผิวปกคลุมไปด้วยเกล็ด หางเหมือนหางวัว และมีกีบเหมือนม้า สัตว์วิเศษนี้ประกอบไปด้วบเบญจธาตุ ดิน น้ำ ไฟ ไม้ และ โลหะ กล่าวกันว่า กิเลนมีชีวิตยืนยาวหลายพันปี บางตำนานก็กล่่่าวว่า ตัวผู้เท่านั้นที่มีเขา บ้างก็ว่ามีหลายเขา แทนที่จะเป็นเขาเดี่ยว
            กิเลนเป็นสัตว์นำโชค และเป็นหนึ่งในสี่ สัตว์วิเศษของจีน สัตว์วิเศษอีก ๓ ชนิดของจีนคือ นกหงส์ มังกร และ เต่า
            ตำนานเกี่ยวกับสัตว์ชนิดนี้มีอยู่ในประเทศอื่นด้วยเช่น ประเทศญี่ปุ่น และ เกาหลี ในญี่ปุ่น เรียกสัตว์ชนิดนี้ว่า คิริน ตามเวปไซต์www.pantheon.org คิรินคือม้าเขาเดี่ยวของญี่ปุ่น เป็นสัตว์เทวะที่ปราบปรามความชั่ว คอยปกป้องคนดี และมอบความโชคดี ให้คนเหล่านั้น การได้เห็นคิริน นับว่าเป็นโชคอย่างมหาศาล
            ในไทยเองก็มีรูปกิเลนตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๓ และมีรูปลักษณ์ต่างออกไป โดยมี ๓ แบบคือ กิเลนจีน กิเลนไทย และ กิเลนปีก
1.1 กิเลนจีน


            ในตำนานจีน กิเลนมีหัวเป็นมังกร มีเขาเดียว (เขาแบบกวาง) มีร่างกายแบบกวาง แต่ผิวปกคลุมไปด้วยเกล็ด หางเหมือนหางวัว และมีกีบเหมือนม้า สัตว์วิเศษนี้ประกอบไปด้วบเบญจธาตุ ดิน น้ำ ไฟ ไม้ และ โลหะ กล่าวกันว่า กิเลนมีชีวิตยืนยาวหลายพันปี
             พจนานุกรมจีน อธิบายกิเลนต่างออกไป ว่า กิเลนมีหัวเหมือนสุนัข แต่มีกายเป็นกวาง หางเป็นวัว กีบเหมือนม้า มีขนแผงคอหลากสี ขนใต้ท้องมีสีเหลือง มีสีกาย ๕ สี คือ แดง เหลือง น้ำเงิน ขาว และ ดำ ตัวผู้มีเขา ๑ เขา ส่วนตัวเมียไร้เขา กิเลนสามารถเดินบนผิวน้ำได้
            มีเรื่องเล่าว่า สมัยราชวงศ์เมง ชาวจีนได้เห็นยีราฟเป็นครั้งแรก-ราวปี พ.ศ. ๑๙๕๗ จิตรกรจีนได้วาดภาพยีราฟไว้และเขียนกำกับชื่อภาพว่า กิเลน อาจเป็นเพราะยีราฟมีรูปร่างแปลก แถมยังมี เขาอ่อนเหมือนกวางบางชนิด

1.2 กิเลนไทย
แม้ว่ากิเลนจะได้รับอิทธิพลจากประเทศจีน วัดหลายแห่ง ในไทยก็มี กิเลนเช่นกัน แบบ
ฉบับของกิเลนไทย แตกต่างจากแบบจีนบ้าง โดยปกติแล้ว กิเลนไทยมีเขา 2 เขา และมีกีบคู่ ต่างจากแบบดั้งเดิม

1.3 กิเลนปีก
            กิเลนปีกดูแปลกตากว่ากิเลนอีก 2 ชนิด โดยกิเลนปีก ไม่มีเขาแม้แต่เขาเดียว แต่มีปีกคล้ายนก 1 คู่ อีกอย่างที่ผิดแผกไป ก็คือเท้าที่เป็นกรงเล็บ ไม่เหมือนเท้าแบบกีบเหมือนกิเลนอีก 2 ชนิด

              2. สัตว์ประเภทกวาง


              คงเป็นเพราะกวางเป็นสัตว์ที่มีอยู่หลายแห่งในโลก จึงมีสัตว์ประหลาดที่มีเค้าจากกวาง ในตำนานหิมพานต์ ก็มีสัตว์บางตัวที่มีรากมาจากกวางเช่นกัน แบ่งออกได้ 3 ชนิด ดังนี้
              2.1 มารีศ
              มารีศ เป็นหนึ่งในตัวละครยักษ์ในเรื่อง รามายนะ (รามเกียรติ์). มารีศเป็นบุตรของนางยักษ์ชื่อ กากนาสูร และเป็นญาติของทศกัณฑ์ (ตัวร้ายหลักของเรื่อง) ในเรื่อง ทศกัณฑ์ต้องการจับตัวนางสีดา จึงสั่งให้มารีศให้จำแลงกาย เป็นกวางทองไปล่อนาง แผนนี้เกือบสำเร็จลุล่วง แต่ท้ายที่สุด มารีศก็โดนพระรามแผลงศรใส่ ในรูปวาดมารีศจึงเป็นรูปสัตว์ประหลาด กึ่งยักษ์กึ่งกวาง
              2.2 พานรมฤค
              พานรมฤคมีร่างท่อนบนเป็นลิงและมีกายท่อนล่างเป็นกวาง  สัตว์นี้มีคุณสมบัติความคล่องตัวเหมือนกวาง  แต่สามารถที่จะใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่การทำงานของมือสำหรับโลภวัตถุ Panorn Marueks ยังมีความรู้สึกที่ยอดเยี่ยมของการได้ยินเป็นลักษณะจากลิง เหมือนลิง Panorn Marueks ต้องการผลไม้เช่นกล้วยและมะพร้าวเพื่อหญ้า เขียนในตำนานหิมพานต์ที่ Panorn Marueks โดยทั่วไปมีร่างกายสีเขียว
             2.3 อัปสรสีหะ
             อัปสรสีหะ เป็นครึ่งมนุษย์ครึ่งสัตว์กวาง พวกเขามีความอุดมสมบูรณ์ในป่าหิมพานต์ บางครั้งสิ่งมีชีวิตที่จะแสดงเป็นมนุษย์ที่มีร่างกายส่วนล่างของสิงโต

3.สัตว์ประเภทสิงห์
นับได้ว่าสัตว์ในป่าหิมพานต์ส่วนใหญ่จัดอยู่ในหมวดสิงห์ คงเป็นเพราะสิงห์เป็นสัตว์ที่ดูสง่า และน่าเกรงขาม สิงห์ในตำนานหิมพานต์สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ชนิดหลักๆ คือ ราชสีห์ และ สิงห์ผสม ราชสีห์เป็นสัตว์ที่มีพละกำลังสูง ราชสีห์มีอยู่ด้วยกัน 4 ชนิดคือ บัณฑุราชสีห์ กาฬสีหะ ไกรสรราชสีห์ และ ติณสีหะ ส่วนสิงห์ผสมนั้นมีอยู่มากมาย โดยปกติสิงห์ผสมคือสัตว์ประสมที่มีลักษณะของ ราชสีห์กับสัตว์ประเภทอื่น
            3.1 ราชสีห์

1) บัณฑุราชสีห์
             บัณฑุราชสีห์ เป็น 1 ใน 4 ราชสีห์แห่งป่าหิมพานต์ บัณฑุราชสีห์มีผิวกายสีเหลืองและ เป็นสัตว์กินเนื้อ บัณฑุราชสีห์จัดได้ว่าเป็นสัตว์นักล่าขนาดใหญ่สัตว์ ที่ถูกล่า มีตั้งแต่สัตว์ประเภทกวาง ควาย ช้าง หรือแม้แต่มนุษย์ ในเอกสารที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับป่าหิมพานต์ระบุว่า มี ร่างกาย เหมือนสีใบไม้เหลืองและใหญ่เท่ากับวัวหนุ่ม
2)  กาฬสีหะ
                กาฬสีหะ เป็น 1 ใน 4 ราชสีห์แห่งป่าหิมพานต์ นอกจากนี้ยังเป็นราชสีห์ที่กินพืชเป็นอาหาร
เท่านั้น กาฬสีหะมีกายดำสนิท และใหญ่ราวโคหนุ่ม (คำว่า กาฬ” แปลว่าดำ)ถึงแม้กาฬสีหะจะกินเฉพาะพืช แต่ก็ใช่ว่าจะมีกำลังวังชา ด้อยไปกว่าราชสีห์ชนิดอื่น ราชสีห์ทุกชนิดมีเสียงคำราม 
อันทรงพลัง ในตำนานกล่าวว่าเพียงเสียงคำรามของราชสีห์ก็สามาารถทำให้ สัตว์อื่น เจ็บได้
3)ไกรสรราชสีห์

ในตำนานพระเวสันดร มีตอนหนึ่งกล่าวถึงไกรสรราชสีห์ ในเรื่องบรรยายว่าเป็นสัตว์ทรงพลัง กายเป็นสิงห์ มีขนแผงคอ ริมฝีปาก ขนหาง และเล็บเป็น สีแดงดั่งผ้ารัตนกัมพล
             ไกรสรราชสีห์เป็น 1 ใน 4ราชสีห์แห่งป่าหิมพานต์ ในตำนานกล่าวว่าไกรสรราชสีห์เป็นสัตว์ที่มีพละกำลังแรงกล้า เป็นนักล่าชั้นเยี่ยมและกินสัตว์ใหญ่น้่อยเป็นอาหาร
4)           ติณสีหะ

ติณสีหะมีกายสีแดง เป็นราชสีห์อีกชนิดที่กินแต่พืชเป็นอาหาร ลักษณะเด่นอีกอย่างของ ติณสีหะคือมีเท้าเป็นกีบแบบม้า

3.2 สิงห์ผสม
1) เกสรสิงหะ

เกสรสิงห์ หรือกาสรสิงห์เป็นสิงห์มีส่วนผสม ระหว่างราชสีห์ กับสัตว์ประเภทวัวควาย กาสรสิงห์มีผิวกายสีเทา ร่างเป็นแบบสิงห์ แต่มีเท้าเป็นกีบเหมือนเท้าควาย
2) เหมราช

ตามชื่อของสัตว์ชนิดนี้ เหมราชเป็นสัตว์ผสมที่มีร่างเป็นสิงห์ส่วนหัวเป็นเหม เหมเป็นสัตว์ในวรรณคดีไทยชนิดหนึ่ง บ้างก็ว่ามีลักษณะเหมือนหงส์(ห่าน) แต่ในบางรูป ก็วาดเหมเหมือนสัตว์ตระกูลจระเข้
3) คชสีห์

คชสีห์ เป็นสิงห์ผสมที่มีกายเป็นสิงห์ และมีช่วงหัวเป็นช้าง ตามตำรากล่าวว่าคชสีห์มีพลังเทียบเท่าช้างและสิงห์รวมกัน ซึ่งนับได้ว่าเป็นสัตว์ที่น่าเกรงขาม คชสีห์มีลักษณะคล้ายสัตว์หิมพานต์อีกชนิดหนึ่งชื่อทักทอ
4) ไกรสรจำแลง

ไกรสรจำแลงมีหัวแบบมังกร และมีร่างเป็นราชสีห์ (สิงโต) จิตรกรบางท่านเรียกไกรสรจำแลงว่า ไกรสรมังกรซึ่งมีความหมาย ตรงตัวว่ามังกรสิงห์
5)           ไกรสรคาวี

สัตว์ชนิดนี้มีลักษณะผสมระหว่างสิงโต และวัว. ในรูปจิตรกรรมไทย มักวาดไกรสรคาวีเป็นสัตว์ที่มีช่วงหัวเป็นวัว และมีร่างเป็น สิงโต. จิตรกรบางท่านวาดไกรสรคาวีเป็นสิงห์ที่มีหัวเป็นวัว แต่มีหางเหมือนม้า
6)           ไกรสรนาคา

ตามชื่อของสัตว์ชนิดนี้ ไกรสรนาคาเป็นสิงห์ผสมที่มีส่วนประกอบของนาคด้วย หางเหมือนสัตว์เลื้อยคลานประเภทงู ตัวมีลักษณะคล้ายสิงห์ แต่มีเกล็ดแข็งปกคลุมทั่วกาย
            7)           ไกรสรปักษา

ไกรสรปักษาเป็นสัตว์ผสมระหว่างสิงห์กับนก. ตามรูปโบราณ ไกรสรปักษามีกายสีเขียวอ่อน หัวเป็นเหมือนพญาอินทรี ตัวเป็นดั่งราชสีห์แต่มีเกล็ดคลุม นอกจากนั้นยังมีปีกเหมือนนกอีกด้วย
8)           โลโต


โลโต มีร่างกายเป็นสิงห์สีน้ำตาล ลักษณะเด่นคือมีเท้าแบบกรงเล็บ ชื่อโลโต เป็นชื่อที่ค่อนข้างแปลก ไม่ททราบว่าจริงๆแล้วแปลว่าอะไร แต่ในภาษาจีนคำว่า โลโต แปลว่าอูฐ
9)           พยัคฆ์ไกรสร

พยัคฆ์ไกรสรมีส่วนประสมระหว่างสิงห์กับเสือ ส่วนหัวมีลักษณะเหมือนเสือลายพาดกลอน หรือเสือเบงกอล ส่วนตัวเป็นแบบสิงโต ตามจริงแล้วในโลกมนุษย์ ก์็มีสัตว์ที่มี ลักษณะเช่นนี้เหมือนกัน นั่นก็คือ “Liger-ไลเกอร์” (สัตว์ลูกผสมที่มีพ่อเป็นสิงโต และมีแม่เป็นเสือ) หรือ “Tigon-ไทกอนสัตว์ลูกผสมที่มีพ่อเป็นเสือ และมีแม่เป็นสิงโต)
10)   สางแปรง

สางแปรงมีกายเป็นสีเหลือง และมีเท้าเป็นแบบกรงเล็บ คำโบราณไทยให้ความหมายของคำว่า สางไว้หลายแบบ บ้างก็แปลว่าเสือ บ้างก็แปลว่าช้าง
11)   สกุณไกรสร

สกุณไกรสรมีผิวกายเป็นสีน้ำตาล ส่วนหัวเป็นเหมือนนก ส่วนตัวเป็นสิงห์ยังมีสัตว์อีกชนิดในป่าหิมพานต์ที่คล้ายคลึงกับ สกุณไกรสร นั่นก็คือ ไกรสรปักษา ข้อแตกต่างระหว่างสัตว์ทั้ง 2 ชนิดคือ สกุณไกรสรไม่มีปีกเหมือนไกรสรปักษา
สิงฆ์นอกเหนือจากที่มีอธิบายไว้ว่ามีกายสีม่วงอ่อน สิงห์มีลักษณะเหมือนราชสีห์ทั่วไป
12)   สิงหคักคา

สิงหคักคา หรือสีหะคักคามีกายเป็นเกล็ดสีม่วงเข้ม แม้จะมีส่วนหัวและตัวเป็นสิงห์ กลับมีเท้าเหมือนช้าง
13)   สิงหพานร

สิงหพานรมีขนกายสีแดง ช่วงบนมีลักษณะเป็นวานรรหรือลิง ส่วนช่วงล่างและหางมีลักษณะของสิงห์ แต่ช่วงเท้ากลับมี ลักษณะเหมือนอุ้งเท้าลิง
14)   สิงโตจีน

สิงโตจีนเป็นสัตว์ที่ไทยเราได้มาจากประเทศจีน สิงโตจีนโดยปกติ จะมีขนปกคลุมยาวต่างจากสิงห์ชนิอื่น ในประเทศไทย ท่านสามารถพบสิงโตจีนได้ทั่วไปตามวัดวาอาราม หรือ แม้กระทั่งศาลเจ้าจีนเกือบทุกแห่ง
15)   สีหรามังกร

สิงห์ชนิดนี้มีหัวเป็นมังกร มีร่างเป็นสิงห์สีน้ำตาล คนทั่วไปมักจำสีหรามังกรสับสนกับไกรสรจำแลง
16)   เทพนรสีห์

เทพนรสีห์เป็นสัตว์ผสมที่มีกายท่อนบนเป็นมนุษย์ ส่วนท่อนล่างเป็นสิงห์ แต่ในบางตำราก็ว่ามีช่วงล่างเป็นกวาง ตัวเมียเรียกว่า อัปสรสีห์
17)   ฑิชากรจตุบท

ฑิชากรจตุบทเป็นสิงห์ที่มีลักษณะของนก คำว่า จตุบท มาจากคำว่าจตุ ซึ่งแปลว่า 4 และ คำว่า บท มาจากคำว่า บาท ซึ่งหมายถึง เท้าส่วนคำว่าฑิชากรแปลว่านก ในตำราบรรยายว่า สัตว์ชนิดนี้มีกายสีเขียวอ่อน ส่วนหางมีสีเหลือง
18)   โต

โตมีลักษณะคล้ายสิงห์แต่ส่วนหัวมีเขา 2 เขา ว่ากันว่าชื่อ โตนี้ได้มาจากชื่อสัตว์ในตำนานของประเทศลาว
19)   โตเทพสิงฆนัต

            โตเทพสิงฆนัต เป็นสัตว์ตระกูลสิงห์ มี กายสีน้ำตาล ชื่อของสัตว์ชนิดนี้มาจากคำว่า โต และ สิงฆนัต ทั้งสองคำ มีความหมาย พ้องหันคือ แปลว่าสิงโต
20)   ทักทอ

   ทักทอเป็นสัตว์ประหลาดอีกชนิดแห่งโลกหิมพานต์ มีกายท่อนล่างเป็นสิงห์ ส่วนหัวเป็นช้าง
 ผู้อ่านมักสับสนกับคชสีห์ เพราะทั้งคู่มีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก จุดต่างของสัตว์ทั้งสองคือ ทัก
ทอมีเครา และผมตั้งไปข้างหน้า
ที่มา : https://guy28984.wordpress.com/3

4. สัตว์ประเภทพญานาค
พญานาคหรืองูกษัตริย์เป็น srpent เหมือนสิ่งมีชีวิตที่มีเคราและสวมมงกุฎแหลม ในข้อความเก่านาคเป็นพี่ชายของครุฑ ฐานในตำนานทั้งสองมีพ่อเดียวกันและแม่ของพวกเขาเป็นน้องสาว พญานาคเป็นศัตรูของครุฑเนื่องจากความขัดแย้งแม่ของพวกเขา
พญานาคมักจะพบในงานสถาปัตยกรรมไทยและก็มักจะเป็นภาพที่ให้ความสะดวกสบายและเงากับพระพุทธรูปนั่งสมาธิขดลวดของงูการแสดงที่ยอดเยี่ยมเช่นเบาะในขณะที่หัวหลายทำงานเป็นร่ม

5. สัตว์ประเภทมนุษย์
5.1 คนธรรพ์
คนธรรพ์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีมนต์ขลังที่อาศัยอยู่ระหว่างโลกมนุษย์และสวรรค์ในป่าหิมพานต์ Teh เผ่าพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตนี้บอกว่าจะเป็นดนตรีมากในธรรมชาติ พวกเขามีความกระตือรือร้นมากในแทบทุกประเภทของเครื่องดนตรี มีหลายสถานที่ในข้อความเก่าและวรรณกรรมที่กล่าวถึงคนธรรพ์
 หนึ่งในนิทานที่มีชื่อเสียงที่สุดคือเรื่องราวของกากี ในเรื่อง กากี เป็นผู้หญิงสวยที่เป็นสาเหตุของความขัดแย้งมากในหมู่กษัตริย์เจ้านายครุฑและคนธรรพ์เป็นสามของพวกเขาตกหลุมรักกับผู้หญิงคนเดียวกัน การต่อสู้เพื่อความเป็นเจ้าของของผู้หญิงคือเค้าหลักที่ส่งผลให้เกิดโศกนาฎกรรมจำนวนมาก

5.2 มักกะลีผล
นารีผล หรือมักกะลีผล หรือมัคคะลีผล เป็นพืชวิเศษชนิดหนึ่ง เกิดอยู่ในป่าหิมพานต์ ว่ากันว่า นารีผล ขั้วลูกอยู่ด้านบนศีรษะ มีรูปร่างเป็นหญิง ผลสด รูปร่างสะโอดสะอง สมส่วน ผิวพรรณงดงาม ปานเทพธิดา 
            ว่ากันว่า บางครั้ง ฤๅษีที่บำเพ็ญเพียรจนตบะกล้า กิเลสสงบรำงับ เพื่อจะทดสอบจิตตน ก็จะเหาะไปที่ต้นนารีผล มองดูนารีผล ว่าตนจะตบะแตกหรือไม่... หรือบางครั้งฤๅษีผู้เป็นอาจารย์ อาจจะพาลูกศิษย์ไปทดสอบระดับจิต ไปฝึกควบคุมจิต ที่นั่น ก็มี และว่ากันว่า พวกนักสิทธิ์วิทยาธร มักจะเหาะไปเก็บนารีผล อุ้มมาเชยชมแล้ว ฝึกจิตใหม่ ค่อยเหาะกลับออกมา นารีผล เป็นที่ต้องการของสัตว์วิเศษ (คนธรรพ์เป็นต้น) รวมถึงวิทยาธรทั้งหลายผู้ยังไม่หมดกามราคะ ดังนั้น การที่นารีผลจะเหี่ยวแห้งคาต้นแล้วร่วงหล่นนั้น เป็นไปได้ยาก ก่อนจะโรยรา จะมีเทวดา สัตว์วิเศษ และวิทยาธร เป็นต้นมาเก็บเอาไป
ที่มา : http://www.himmapan.com/thai/himmapan_naga.html





วรรณคดีไทยแต่ละสมัย

            การแบ่งสมัยของวรรณคดีไทยนิยมแบ่งตามช่วงระยะเวลาที่เกิดวรรณคดี โดยยึดราชธานีเป็นหลัก ดังนี้
1. สมัยกรุงสุโขทัย ประมาณ พ.ศ. 1800 -1920
เป็นเวลา 120 ปี ตั้งแต่การสร้างกรุงสุโขทัยจนถึงเสียอิสรภาพแก่กรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 1920 มีหลักฐานทางวรรณคดีปรากฏอยู่เพียง 2 รัชสมัย คือ สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พระยาลิไท)
2. สมัยกรุงศรีอยุธยา แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ
สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) จนถึงสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พระเชษฐา) พ.ศ. 1893 – 2072 เป็นระยะเวลา 179 ปี จากนั้นวรรณคดีว่างเว้นไป 90 ปี เพราะบ้านเมืองไม่ปกติสุข มีสงครามกับพม่า   แบ่งออกเป็น 2 ระยะ
            2.1 สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม จนถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ. 2153 – 2231 เป็นเวลา 78 ปี จากนั้นวรรณคดีว่างเว้นไปอีก 44ปี
            2.2 สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ จนถึงเสียกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2275 – 2310 เป็นเวลา 35 ปี
3. สมัยกรุงธนบุรี พ.ศ. 2310 – 2325 เป็นเวลา 15 ปี
4. สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2325 – 2394 เป็นระยะเวลา 69 ปี
            สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ปัจจุบัน หรือสมัยรับอิทธิพลตะวันตก ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2394 ถึงปัจจุบัน เป็นสมัยที่วรรณคดีไทยได้รับอิทธิพลจากตะวันตก รูปแบบของวรรณคดี เนื้อเรื่อง ตลอดจนความคิดในการเขียนเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง

1. วรรณคดีสมัยกรุงสุโขทัย
            วรรณคดีสมัยกรุงสุโขทัยเท่าที่ปรากฏหลักฐานมีอยู่เพียง 2 รัชสมัย คือ สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พระยาลิไท) มีกวีและวรรณคดีที่สำคัญ คือ
            1.1  สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช กวีที่สำคัญได้แก่
            1) พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงพระราชนิพนธ์ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง เป็นวรรณคดีบันทึกประวัติความเป็นไปของ บ้านเมือง
2) สุภาษิตพระร่วง เป็นวรรณคดีประเภทคำสอน
1.2  สมัยพระยาลิไท กวีที่สำคัญ ได้แก่
1) พระยาลิไท ทรงพระราชนิพนธ์ ไตรภูมิพระร่วง เป็นวรรณคดีเกี่ยวกับความคิด และความเชื่อทางศาสนา
2) นางนพมาศ แต่ง นางนพมาศหรือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นเรื่องขนบธรรมเนียมประเพณี
2. วรรณคดีสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น
            ตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ถึงรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเชษฐา) พ.ศ.1893 – 2072 เป็นเวลา 179 ปี มีวรรณคดีสำคัญเกิดขึ้นเพียง 3 รัชสมัย คือ
            2.1 สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ( พระเจ้าอู่ทอง) ลิลิตโองการแช่งน้ำ
            2.2 สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มหาชาติคำหลวง ลิลิตยวนพ่าย
            2.3 สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พระเชษฐา) สันนิษฐานว่ามี
1) ลิลิตพระลอ
2) โคลงนิราศหริภุญชัย
3) โคลงทวาทศมาส
4) โคลงกำสรวล
3. วรรณคดีสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง
            กวีและวรรณคดีที่สำคัญ มีดังนี้
            3.1 สมัยพระเจ้าทรงธรรม สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม กาพย์มหาชาติ
3.2 สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
            1. โคลงพาลีสอนน้อง
            2. โคลงทศรถสอนพระราม
            3. โคลงราชสวัสดิ์
            4. สมุทรโฆษคำฉันท์ตอนกลาง
            5. บทพระราชนิพนธ์โคลงโต้ตอบกับกวีอื่นๆ
พระมหาราชครู
            1. เสือโคคำฉันท์
            2. สมุทรโฆษคำฉันท์ตอนต้น
พระโหราธิบดี
            1. จินดามณี
            2. พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ
ศรีปราชญ์
            1. อนิรุทธคำฉันท์
            2. โคลงเบ็ดเตล็ด
พระศรีมโหสถ
            1. กาพย์ห่อโคลง
            2. โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
            3. โคลงอักษรสามหมู่
            4. โคลงนิราศนครสวรรค์
ขุนเทพกวี
            1. คำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง

4. วรรณคดีสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย
กวีและวรรณคดีที่สำคัญ มีดังนี้
4.1 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ   แต่ง โคลงชะลอพุทธไสยาสน์
            4.2 เจ้าฟ้าอภัย แต่งโคลงนิราศเจ้าฟ้าอภัย
            4.3 เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐ์สุริยวงศ์  แต่ง
                        1) นันโทปนันทสูตรคำหลวง
                        2) พระมาลัยคำหลวง
                        3) กาพย์เห่เรือ
                        4) กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง
                        5) กาพย์ห่อโคลงนิราศ
                        6) เพลงยาวเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร
            4.4 เจ้าฟ้ากุณฑล  แต่ง บทละครเรื่องดาหลัง
            4.5 เจ้าฟ้ามงกุฎ แต่ง บทละครเรื่องอิเหนา
            4.6 พระมหานาควัดท่าทราย  แต่ง
                        1) ปุณโณวาทคำฉันท์
                        2) โคลงนิราศพระบาท
            4.7 หลวงศรีปรีชา  แต่ง
                        1) กลบทสิริวิบุลกิติ
                        2) บทละครนอก

5. วรรณคดีสมัยกรุงธนบุรี
            กวีและวรรณคดีที่สำคัญ มีดังนี้
            5.1 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  แต่ง บทละครเรื่องรามเกียรติ์ 4 ตอน คือ
                        1) ตอนพระมงกุฎประลองศร
                        2) ตอนหนุมานเกี้ยวนางวานริน
                        3) ตอนท้าวมาลีวราชว่าความ
                        4) ตอนทศกัณฐ์ตั้งพิธีทรายกรด พระลักษมณ์ต้องหอกกบิลพัท จนถึงตอนผูกผมทศกัณฐ์กับนางมณโฑ
            5.2 พระภิกษุอินท์และพระยาราชสุภาวดี  แต่ง กฤษณาสอนน้องคำฉันท์
            5.3 นายสวนมหาดเล็ก  แต่ง โคลงยอพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
            5.4 หลวงสรวิชิต (เจ้าพระยาพระคลัง (หน)  แต่ง
                        1) อิเหนาคำฉันท์ 
2) ลิลิตเพชรมงกุฎ
                        3) พระยามหานุภาพ
                        4) นิราศเมืองกวางตุ้ง
                        5) เพลงยาว

6. วรรณคดีสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
            6.1 สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
                        กวีและวรรณคดีที่สำคัญในรัชกาลที่ 1 มีดังนี้
                        1) พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  แต่ง
                                    1. เพลงยาวรบพม่าที่ท่าดินแดง
                                    2. บทละครเรื่องอุณรุท
                                    3. บทละครเรื่องรามเกียรติ์
                                    4. บทละครเรื่องดาหลัง
                                    5. บทละครเรื่องอิเหนา
                                    6. กฎหมายตราสามดวง
                        2) สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท แต่ง
                                    1. นิราศเสด็จไปรบพม่าที่นครศรีธรรมราช
                                    2. เพลงยาวถวายพยากรณ์เมื่อเพลิงไหม้พระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาท
                                    3. เพลงยาวนิราศเสด็จไปตีเมืองพม่า
                        3) เจ้าพระยาพระคลัง(หน)  แต่ง
                                    1. ราชาธิราช
                                    2. สามก๊ก
                                    3. สมบัติอมรินทร์คำกลอน 
                        4. บทมโหรีเรื่องกากี
                                    5. ลิลิตพยุตราเพชรพวง
                                    6. ลิลิตศรีวิชัยชาดก
                                    7. ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดกกัณฑ์กุมารและกัณฑ์มัทรี
                        4) พระเทพโมลี (กลิ่น)  แต่ง
                                    1. ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดกกัณฑ์มหาพน
                                    2. มหาชาติคำหลวง กัณฑ์ทานกัณฑ์
                                    3. นิราศตลาดเกรียบ
                        5) พระธรรมปรีชา(แก้ว)  แต่ง ไตรภูมิโลกวินิจฉัยกถา
                        6) สมเด็จกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข  แต่ง ชิดก๊กไซฮั่น
                        7) เจ้าพระยาพิพิธชัย  แต่ง พระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ
                        8) พระวิเชียรปรีชา  แต่ง พงศาวดารเหนือ
                        9) ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง  : นิราศอิหร่านราชธรรม
            6.2 วรรณคดีสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
                        กวีและวรรณคดีที่สำคัญในรัชกาลที่ 2 มีดังนี้
                        1) พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  แต่ง
                                    1. บทละครเรื่องอิเหนา
                                    2. บทละครเรื่องรามเกียรติ์
                                    3. บทละครนอก 5 เรื่อง คือ ไชยเชษฐ์ มณีพิไชย คาวี สังข์ทอง ไกรทอง
                                    4. กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานและว่าด้วยงานนักขัตฤกษ์
                                    5. บทพากย์โขน ตอนนางลอย นาคบาศ พรหมาสตร์ และเอราวัณ
                                    6. เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนพลายแก้วเป็นชู้กับนางพิม ขุนแผนขึ้นเรือน
                                    7. ขุนช้าง ขุนแผนเข้าห้องนางแก้วกิริยา และขุนแผนพานางวันทองหนี
                        2) นายนรินทร์ธิเบศร์  แต่ง โคลงนิราศนรินทร์
                        3) พระยาตรังคภูมิบาล  แต่ง
                                    1. โคลงนิราศตามเสด็จลำน้ำน้อย
                                    2. โคลงนิราศพระยาตรัง
                                    3. โคลงดั้นเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
                                    4. เพลงยาว
                                    5. โคลงกวีโบราณ
                        4 ) พระสุนทรโวหาร(ภู่)  แต่ง
                                    1. นิราศ 9 เรื่อง คือ เมืองแกลง พระบาท ภูเขาทอง วัดเจ้าฟ้า อิเหนา สุพรรณ รำพันพิลาป พระประธม เมืองเพชร
                                    2. กลอนนิยาย 4 เรื่อง คือ โคบุตร สิงหไตรภพ ลักษณวงศ์ พระอภัยมณี
                                    3. เสภา 2 เรื่อง คือ ขุนช้างขุนแผน ตอน กำเนิดพลายงาม พระราชพงศาวดาร
                                    4. กลอนสุภาษิต 3 เรื่อง คือ สุภาษิตสอนหญิง เพลงยาวถวายโอวาท สวัสดิ รักษา
                                    5. กาพย์ 1 เรื่อง คือ พระไชยสุริยา
                                    6. บทเห่ 4 เรื่อง คือ กากี จับระบำ พระอภัยมณี โคบุตร
                                    7. บทละคร 1 เรื่อง คือ อภัยนุราช
                        5) คณะนักปราชญ์ราชกวี(ไม่ปรากฏนาม)  แต่ง
                                    1. มหาชาติคำหลวง 6 กัณฑ์
                                    2. พงศาวดารจีนแปลเรื่อง เลียดก๊ก ห้องสิน ตั้งฮั่น

6.3 วรรณคดีสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
                        กวีและวรรณคดีที่สำคัญในรัชกาลที่ 3 มีดังนี้
                        1) พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ แต่ง
                                    1. เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างขอนางพิมและขุนช้างตามนางวันทอง
                                    2. โคลงยอพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
                                    3. บทละครเรื่องสังข์ศิลป์ชัย
                        2) ทรงพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ได้แก่
                                    1. เพลงยาวเรื่องพระราชปรารภการจารึกความรู้บนแผ่นศิลาและเรื่องปลงสังขาร
                                    2. โคลงฤาษีดัดตน (จารึกวัดพระเชตุพนฯ)
                                    3. เพลงยาวกลบท
                                    4. พระบรมราโชวาทและพระราชกระแสรับสั่งต่างๆ
                                    5. พระราชปุจฉาและพระราชปรารภต่างๆ
                                    6. ประกาศห้ามสูบฝิ่น
                                    7. นิทานแทรกในเรื่องนางนพมาศ
                        3) สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส  แต่ง
                                    1. ลิลิตตะเลงพ่าย
                                    2. สมุทรโฆษคำฉันท์
                                    3. ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก
                                    4. สรรพสิทธิ์คำฉันท์
                                    5. กฤษณาสอนน้องคำฉันท์
                                    6. ลิลิตกระบวนพยุหยาตราเสด็จทางชลมารคและสถลมารค
                                    7. โคลงดั้นเรื่องปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ
                                    8. เพลงยาวเจ้าพระ
                                    9. กาพย์ขับไม้กล่อมช้างพัง
                                    10. พระปฐมสมโพธิกถา
                                    11. ตำราฉันท์มาตราพฤติและวรรณพฤติ
                                    12. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา
                        4) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเดชาดิศร แต่ง
                                    1. โลกนิติคำโคลง
                                    2. โคลงนิราศเสด็จไปทัพเวียงจันทร์
                                    3. ฉันท์ดุษฎีสังเวยต่างๆ
                                    4. โคลง (จารึกวัดพระเชตุพนฯ)
                        5) พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงวงศาธิราชสนิท  แต่ง
                                    1. นิราศพระประธม
                                    2. โคลงจินดามณี
                                    3. นิราศสุพรรณ
                                    4. กลอนกลบทสิงโตเล่นหาง
                        6) พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นไกรสรวิชิต  แต่ง
                                    1. โคลงฤาษีดัดตน
                                    2. โคลงกลบทกบเต้นไต่รยางค์
                                    3. เพลงยาวกลบท
                        7) พระมหามนตรี(ทรัพย์)  แต่ง
                                    1. บทละครเรื่องระเด่นลันได
                                    2. เพลงยาวว่ากระทบพระยามหาเทพ
                                    3. โคลงฤาษีดัดตน
                        8) กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์  แต่ง
                                    1. บทละครนอกเรื่องพระลอนรลักษณ์
                                    2. เพลงยาวกรมศักดิ์

            6.4 วรรณคดีสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
                        กวีและวรรณคดีที่สำคัญในรัชกาลที่ 4 มีดังนี้
                        1) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  แต่ง
                                    1. บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอนพระรามเดินดง
                                    2. มหาชาติ 5 กัณฑ์ คือ วนปเวสน์ จุลพน มหาพน สักกบรรพ และ
ฉกษัตริย์
                                    3. ประกาศและพระบรมราชาธิบาย
                                    4. บทจับระบำเรื่องรามสูรและเมขลา นารายณ์ปราบนนทุก
                                    5. บทพระราชนิพนธ์เบ็ดเตล็ด เช่น บทเบิกโรงละครหลวง บทรำดอกไม้เงินทอง
                                    6. จารึกวัดพระเชตุพนธ์
                        2) หม่อมเจ้าอิศรญาณ  แต่ง  อิศรญาณภาษิต
                        3) หม่อมราโชทัย (ม.ร.ว. กระต่าย อิศรางกูรฯ)  แต่ง
                                    1. จดหมายเหตุเรื่องราชทูตไทยไปลอนดอน
                                    2. นิราศลอนดอน

6.5 วรรณคดีสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 
กวีและวรรณคดีที่สำคัญในรัชกาลที่ 5 มีดังนี้
            1) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  แต่ง
                        1. พระราชพิธีสิบสองเดือน
                        2. ไกลบ้าน
                        3. พระราชวิจารณ์
                        4. บทละครเรื่องเงาะป่า
                        5. ลิลิตนิทราชาคริต
                        6. บทละครเรื่องวงศเทวราช
                        7. กวีนิพนธ์เบ็ดเตล็ด เช่น กาพย์เห่เรือ โคลงสุภาษิต โคลงรามเกียรติ์
                        8. บันทึกและจดหมายเหตุต่างๆ
            2) พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)  แต่ง
                        1. แบบเรียนภาษาไทย 6 เล่ม
                        2. พรรณพฤกษาและสัตวาภิธาน
                        3. คำฉันท์กล่อมช้าง
                        4. คำนมัสการคุณานุคุณ
            3) พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์  แต่ง
                        1. เฉลิมพระเกียรติกษัตริย์คำฉันท์
                        2. ลิลิตมหามงกุฎราชคุณานุสรณ์
                        3. ลิลิตตำนานพระแท่นมนังคศิลา
                        4. พระราชพงศาวดารพม่า
                        5. บทละครเรื่องสาวเครือฟ้า
                        6. บทละครเรื่องพระลอ
                        7. บทละครเรื่องไกรทอง
                        8. บทละครพงศาวดารเรื่องพันท้ายนรสิงห์

            6.6. วรรณคดีสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
                        กวีและวรรณคดีที่สำคัญในรัชกาลที่ 6 มีดังนี้
                        1) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  แต่ง
                                    1. บทละครพูดต่างๆ หัวใจนักรบ มัทนะพาธา พระร่วง วิวาหพระสมุทร โพงพาง เวนิสวาณิช เห็นแก่ลูก ตามใจท่าน โรเมโอและจูเลียต
                                    2. บทละครเบิกโรงเรื่องดึกดำบรรพ์
                                    3. บทละครดึกดำบรรพ์
                                    4. บทละครร้อง เช่น สาวิตรี ท้าวแสนปม
                                    5. บทละครรำ เช่น ศกุนตลา
                                    6. บทโขน แก่ รามเกียรติ์
                                    7. บ่อเกิดรามเกียรติ์
                                    8. เมืองไทยจงตื่นเถิด
                                    9. ลัทธิเอาอย่าง
                                    10. พระนลคำหลวง
                        2) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ  แต่ง
                                    1. พงศาวดารเรื่องไทยรบพม่า
                                    2. นิราศนครวัด
                                    3. เที่ยวเมืองพม่า
                                    4. นิทานโบราณคดี
                                    5. ความทรงจำ
                                    6. สาส์นสมเด็จ
                                    7. เสด็จประพาสต้น
                                    8. ประวัติกวีและวรรณคดีวิจารณ์
                                    9. ฉันท์ทูลเกล้าถวายรัชกาลที่ 5
                        3) พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ  แต่ง
                                    1. จดหมายจางวางหร่ำ
                                    2. นิทานเวตาล 
                        3. ประมวลนิทาน น.ม.ส.
                                    4. พระนลคำหลวง
                                    5. กนกนคร
                                    6. สามกรุง
                        4) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์  แต่ง
                                    1. อุณรุท ตอน สมอุษา
                                    2. สังข์ทอง ตอน ถ่วงสังข์
                                    3. อิเหนา ตอนเผาเมือง
                                    4. บทเพลง เช่น เพลงเขมรไทรโยค เพลงสรรเสริญพระบารมี เพลงตับต่างๆ
                                    5. กาพย์เห่เรือ
                        5) เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี แต่ง
                                    1. โคลงกลอนของครูเทพ
                                    2. บันเทิงคดีต่างๆ
                                    3. บทละครพูด
                                    4. แบบเรียนธรรมจริยา
                        6) พระยาอุปกิตศิลปะสาร แต่ง
                                    1. คำประพันธ์บางเรื่อง
                                    2. ชุมนุมนิพนธ์
                                    3. สงครามมหาภารตะคำกลอน
                        7) พระยาศรีสุนทรโวหาร (ผัน)  แต่ง อิลราชคำฉันท์
                        8) นายชิต บุรทัต  แต่ง
                                    1. สามัคคีเภทคำฉันท์
                                    2. กวีนิพนธ์บางเรื่อง
                                    3. พระเกียรติงานพระเมรุทองท้องสนามหลวง
                        9) พระยาอนุมานราชธนและพระสารประเสริฐ แต่ง
                                    1. กามนิต วาสิฏฐี
                                    2. หิโตปเทศ 
3. ทศมนตรี
            4. สมญาภิธานรามเกียรติ์

7) วรรณคดีหลังสมัยรัชกาลที่ 6
            นับตั้งแต่รัชกาลที่ 5 และ 6 อิทธิพลของวรรณคดียุโรปได้แผ่เข้ามาในประเทศไทย เป็นผล ให้วรรณคดีไทยเปลี่ยนแปลงรูปแบบและเนื้อหา เมื่อสิ้นรัชกาลที่ 6 วรรณกรรมตามแบบฉบับดั้งเดิมขาดผู้อุปถัมภ์ค้ำจุนอย่างจริงจัง ประกอบกับมีปัจจัยหลายอย่างเป็นมูลเหตุให้วรรณกรรมไทยมีวิวัฒนาการอย่างรวดเร็วไปตามแนวตะวันตกอันเป็นลักษณะสำคัญของวรรณกรรมปัจจุบัน ล้ำหน้าวรรณกรรมแบบดั้งเดิมไปเป็นอันมาก แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้วรรณกรรมปัจจุบันจะรุดหน้าไปเพียงใด ใช่ว่าวรรณกรรมแบบเดิมจะเสื่อมความนิยมไปจนหมดสิ้นก็หาไม่ เพียงลดประมาณลงไปเท่านั้น